Monthly Archives: November 2012

ทุนชีฟนิ่ง (Chevening ) ประจำปี 2556-2557


เว็บไซต์สถานทูตอังกฤษประจำกรุงเทพมหานคร  http://ukinthailand.fco.gov.uk/th/news/?view=PressR&id=829875282   ประกาศข่าวเรื่อง การสมัครสอบชิงทุนชีฟนิ่งประจำปี 2556-2557 ทุนชีฟนิ่งเป็นทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ สหราชอาณาจักรเป็นเวลานาน 1 ปี

ผู้สนใจสมัครสอบชิงทุน Chevening สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดการสมัครทุน ตลอดจนคุณสมบัติของผู้สมัครได้ที่ http://www.chevening.org/thailand/ แม้ว่า การสมัครขอรับทุนจะเปิดกว้างให้ผู้สนใจหลากหลายสาขาวิชา แต่ทางทุน Chevening จะให้การต้อนรับเป็นพิเศษกรณีผู้สมัครมีภูมิหลังจบการศึกษาหรือให้ความสนใจเพื่อไปศึกษาต่อด้านต่อไปนี้ คือ

  • Climate Change
  • Human Rights
  • Anti-corruption
  • Foreign Policy
  • Finance/Business Management

สำหรับวันที่ปิดรับสมัครการยื่นเอกสารเพื่อสอบชิงทุน คือ วันที่ 2 มกราคม 2556

จากคำแนะนำในการสมัครสอบชิงทุน http://www.chevening.org/apply/guidance  ระบุไว้ว่า ทุนชีฟนิ่งจะพิจารณาการมอบทุนให้กับผู้สมัครที่มีคุณสมบัติโดดเด่นเป็นผู้นำในประเทศบ้านเกิดของตนเอง และผู้สมัครที่มีแรงจูงใจจะกลับมาพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างตำแหน่งความเป็นผู้นำในประเทศของผู้สมัครภายในระยะเวลา 10 ปีที่สำเร็จการศึกษาจากสหราชอาณาจักร 

คุณสมบัติด้านอื่นที่ผู้สมัครต้องมี คือ

1.  จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนเทียบเท่ากับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 2 ของสหราชอาณาจักร

2.  มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 2 ปี นับจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2555

3.  เป็นพลเมืองของประเทศที่มีสิทธิในการขอทุนชีฟนิ่ง

4.  มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL iBT, IELTS  ดังปรากฏคะแนนตามข้อกำหนดที่ 9 (English Language Requirement) ของเว็บไซต์  http://www.chevening.org/apply/guidance

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved.

เว็บไซต์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกา


นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับ 3.0 ขึ้นไป ย่อมมีความใฝ่ฝันที่จะมีโอกาสได้เข้าไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อว่า เข้าเรียนยากที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยประเภทนี้นอกจากจะมีเกณฑ์มาตราฐานในการรับเข้าศึกษาต่อยากแล้ว ยังมีการแข่งขันสูงจากบรรดาผู้ส่งสมัครที่จบมาจากสถานศึกษาชั้นนำของประเทศต่างๆ นอกจากนี้ ผู้สมัครต้องแข่งจันกับผู้สมัครคนอื่นๆเป็นจำนวนตัวเลขหลักหมื่นราย ทั้งนี้เพื่อคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมที่สุดกับมหาวิทยาลัยแห่งนั้น ซึ่งอัตราการตอบรับของบางสถานศึกษาอาจจะมีจำนวนสูงสุดประมาณ 1,000 คน  ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของผู้สมัคร นับตั้งแต่การเตรียมตัวส่งสมัคร การสร้างแฟ้มประวัติให้ดูน่าสนใจ ผลคะแนนแบบทดสอบมาตราฐานอยู่ในเกณฑ์ หรือมีความสามารถเหนือเกณฑ์การพิจารณาการรับเข้าเรียน แบบทดสอบมาตราฐานต่างๆอาทิ  ผลคะแนนจากข้อสอบมาตราฐานทางภาษาอังกฤษ TOEFL iBT หรือ IELTS , ผลทดสอบการคิดวิเคราะห์และความถนัด เช่น GRE หรือ GMAT เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท, หรือผลสอบ SAT สำหรับผู้สนใจสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรี,บางสาขาวิชาในระดับปริญญาโทเน้นให้ผู้เรียนต้องมีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 2 ปีมาก่อนการสมัครเข้าศึกษาต่อ เป็นต้น ขบวนการพิจารณาที่ท้าทายทำให้ความรู้สึกของผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้าเรียนในสถานศึกษาชั้นนำเหล่านี้เกิดความภาคภูมิใจ และเชื่อมั่นว่า หลังจากศึกษาจบจะมีอนาคตที่สดใสในการหางานทำ ตลอดจนได้รับเงินเดือนที่พึงพอใจ

หมายเหตุ  ผู้สมัครที่ได้รับการตอบปฏิเสธจากสถาบันชั้นนำเหล่านี้ มิได้หมายความท่านเป็นคนไม่เก่ง แต่เนื่องจากมีการแข่งขันสูง และแต่ละสถานศึกษาไม่สามารถรับนักศึกษาได้ทั้งหมด ขอให้นักศึกษาพยายามใช้หลักการเบื้องต้นในการพิจารณาส่งสมัครเข้าศึกษาต่อด้วยวิจารณญาณ , ความเป็นเหตุเป็นผล , ความเหมาะสมของตัวผู้สมัคร , เนื้อหาหลักสูตร , และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมกับฐานะของครอบครัว 

เว็บไซต์ยอดนิยมที่ผู้สนใจไปศึกษาต่อที่ประเทสสหรัฐอเมริกาในสถาบันชั้นนำให้ความสนใจ ได้แก่

1. US NEWS http://www.usnews.com/education  เว็บไซต์ USNews จะแบ่งการจัดอันดับมหาวิทยาลัยออกเป็นระดับปริญญาตรี และระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี ในระดับปริญญาตรี ผู้สนใจที่จะส่งสมัครสถานศึกษาเหล่านี้สามารถเข้าไปค้นคว้ารายชื่อมหาวิทยาลัยได้ที่ http://colleges.usnews.rankingsandreviews.com/best-colleges

สำหรับเว็บไซต์การจัดอันดับในระดับปริญญาโทขึ้นไปของ USNews คือ  http://grad-schools.usnews.rankingsandreviews.com/best-graduate-schools จะแสดงจำนวนเงินเดือนที่ผู้จบสถาบันนี้จะได้รับ จำนวนผู้ได้รับการตอบรับเข้าทำงาน นอกเหนือไปจากเกณ์เฉลี่ยการรับเข้าศึกษาต่อ และค่าใช้จ่ายในการเรียน เว็บไซต์ USNews ยังจะมีวิชาอื่นๆให้เลือก นอกเหนือจากวิชาบริหารธุรกิจ อาทิ เช่น วิชาศึกษาศาสตร์ กฎหมาย แพยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ เป้นต้น

2. Business Week : http://www.businessweek.com/bschools/rankings/  เว็บไซต์ Bloomberg Business Week จะเน้นการจัดอันดับวิชาบริหารธุรกิจตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงระดับปริญญาโท  โดยระดับปริญญาตรีประจำปีค.ศ.2012สามารถศึกษารายชื่อมหาวิทยาลัยได้ที่ http://www.businessweek.com/interactive_reports/ugtable_3-20.html

การจัดอันดับวิชาบริหารธุรกิจในระดับปริญญาโทของ Bloomberg Business Week

3. Financial Times  http://rankings.ft.com/businessschoolrankings/global-mba-rankings-2012 เน้นไปที่การจัดอันดับวิชาบริหารธุรกิจต่างทั่วโลก ไม่ได้เจาะจงเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์ Financial Times จะเน้นการจัดอันดับไปที่คุณวุฒิ 6 ด้าน ได้แก่ Global MBA, Executive Education, Masters in Finance, Masters in Management, EMBA, European Business Schools และอัตราเงินเดือนที่จะได้รับหากจบจากสถานศึกษาแห่งนั้นๆนับตั้งแต่ ปีค.ศ.1999-2012

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved.

เนื้อหาหลักสูตร International Baccalaureate Diploma


หลักสูตร International Baccalaureate Diploma (IB) เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อม ให้นักเรียนเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย  ทั้งทางด้านภาษา สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศิลปศาสตร์ นอกจากนี้หลักสูตรยังกำหนดให้นักเรียนเรียนวิชา Theory of Knowledgeโดยเน้นโครงงานทำวิจัย  และร่วมทำกิจกรรมในแนวสร้างสรรค์ และ กิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ (CAS)

หลักสูตร IB จะประกอบด้วยวิชาที่ต้องเรียนทั้งหมด 6 หมวด โดยอาจจะเรียนในระดับ SL หรือ Standard Level ซึ่งมีชั่วโมงเรียนอย่างน้อย 150 ชั่วโมง จำนวน 3  วิชา และเลือกจาก HL หรือ High Level ซึ่งผ่านชั่วโมงการเรียนอย่างต่ำวิชาละ 240 ชั่วโมง อีก 3 วิชา เป็นต้น วิชาทั้ง 6 หมวด จากเว็บไซต์ของ IB เอง http://www.ibo.org/diploma/curriculum/ มีดังนี้คือ

Group Subjects
Group1 (Language and Literature) มีทั้งหมด 16 ภาษาให้เลือกเรียน จำนวนเวลาที่ต้องเรียนทั้งหมด 240 ชั่วโมง เช่น English A; Chinese A; French A; German A; ในส่วนของวรรณคดี  จะต้องผ่านจำนวนชั่วโมงการเรียนอย่างน้อย 150 ชั่วโมง
Group 2 (Language Acquistion) แบ่งเป็น 3 ระดับ

  • Language ab initio (ระดับ SL) คือ ผู้เรียนไม่เคยเรียนภาษานั้นมาก่อน เช่น Spanish ab initio; Italian ab initio; Mandarin ab initio
  • ผู้เรียนเคยมีประสบการณ์เรียนภาษานั้นมาบ้างแล้ว (Language B)  อาจจะเป็นระดับ SL หรือ HL(High Level) เช่น French B; German B; Mandarin B
  • Classical Languages ทั้งในระดับ SL หรือ HL เช่น ภาษา Latin หรือ ภาษา Greek
Group 3 (Individuals and Societies) มีทั้งหมด 9 วิชา แล้วแต่ต่ละสถานศึกษาใดจะมีเปิดสอนวิชาใดบ้าง เช่น Business and Management, Economics, Geography, History, Information Technology in a global society, Philosophy, Psychology, Social and Cultural Anthropology, World Religions (มีเฉพาะระดับ SL เท่านั้น) ส่วนวิชา Global Politics เพิ่งมีเปิดสอนในปี 2012 และจะเป็นวิชาหลักในปี 2015 ( ดูเพิ่มเติม http://www.ibo.org/diploma/curriculum/group3/)
Group 4(Experimental Science) Biology, Chemistry, Design Technology, Physics, Environmental Systems and Societies (Remark: Sport, Exercise and Health Scienceเริ่มเปิดสอนระดับ SL เมื่อปี 2012 และจะเปิดให้มีสอบครั้งแรก 2014 และในอนาคต วิชาในกลุ่มที่ 4 ที่จะมีเพิ่มเข้ามาคือ New Computer Science)
Group 5(Mathematics and Computer Science) Mathematics จะมีทั้งระดับ SL และ HL; Computer Science
Group 6 (The Arts) Dance, Music, Film, Theatre, Visual Arts

เพื่อให้การเรียนหลักสูตร IB จบครบเนื้อหาหลักสูตรเพื่อรับ IB Diploma ผู้เรียนจะต้องผ่านเนื้อหาหลักอีก 3 วิชาคือ

ชื่อวิชา

เนื้อหา

  • Extended Essay
ผุ้เรียนจะต้องเขียนเรียงความขนาดความยาว 4,000 คำโดยมีหัวข้อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนวิชาใน 6 หมวดที่ผ่านมาวิชาใดวิชาหนึ่งก็ได้ เรียงความนี้นอกจากจะเป็นการส่งเสริมหลักการวิจัยขั้นสูง ฝึกการใช้ทักษะความชำนาญในการเขียนระดับมหาวิทยาลัยแล้ว ยังจะเป็นการให้โอกาสนักเรียนเลือกหัวข้อที่ต้องการเขียนเองภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา
  • Theory of Knowledge (TOK)
หลักสูตรนี้ต้องการพัฒนาการเชื่อมโยงการเรียนรู้ และส่งเสริมมุมมองด้านวัฒนธรรม ผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอันเนื่องมาจากการปฏิวัติดิจิตอลและข้อมูลทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการคิดเชิงวิพากษ์ ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น และเชื่อมต่อความรู้ที่ได้เรียนมาใน 6 หมวด ประสบการณ์ในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน และการวิจัยด้วยการเขียนเรียงความ
  • Creativity, Action, Services
ความคิดสร้างสรรค์ การทำกิจกรรมที่คู่ขนานไปกับการเรียนทางวิชาการ CAS เป็นการเน้นให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเดี่ยว หรือกิจกรรมที่ทำเป็นทีม เพื่อส่งเสริมการพัมนาส่วนบุคคล และระหว่างบุคคล

เว็บไซต์หน้าถัดไปนี้  http://www.ibo.org/diploma/curriculum/examples/  จะกล่าวถึงตัวอย่างการเลือกวิชาเรียนตามความถนัดของผู้เรียน ซึ่งผลการเลือกวิชาเรียนนอกจากจะบ่งบอกถึงความถนัดของผู้เรียนแล้ว ผลคะแนนในวิชาต่างๆที่เลือกเรียนยังจะหมายถึงการเลือกคณะที่ควรจะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย  มีมหาวิทยาลัยมากกว่า 1,800 แห่งทั่วโลกที่ยอมรับ  IB Diploma ในการสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี

สำหรับเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบว่ามีสถานศึกษาใดบ้างที่ยอมรับให้ใช้ IB Diploma ในการส่งสมัครเข้าศึกษาต่อปริญญาตรี คือ http://www.ibo.org/universities/listalluniversities.cfm

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved.

เว็บไซต์เกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร


ในปัจจุบันทั้งนักศึกษาและผู้ปกครองมักจะนิยมใช้อันดับของมหาวิทยาลัยเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจเลือกสมัครสถานศึกษาในต่างประเทศ ด้วยมีความเชื่อมั่นว่า หากจบการศึกษาจากสถาบันชั้นนำแล้วจะทำให้มีโอกาสในการได้รับการคัดเลือกเข้าทำงานในองค์กรที่มีชื่อเสียง ได้รับเงินเดือนที่ดีหรือมีโอกาสในการสร้างแฟ้มประวัติส่วนตัวที่ดีเพื่อต่อรองกับบริษัทแห่งใหม่ หรือเพื่อให้ได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นกับนักศึกษาไทยเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในอีกหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในทวีปเอเซีย ในขณะเดียวกันนักศึกษาที่มีคุณสมบัติยังไม่พร้อมที่จะส่งสมัครในมหาวิทยาลัยที่ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว มักจะใช้เว็บไซต์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงไม่ส่งสมัครไปยังสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงดังกล่าว ด้วยเกรงว่า จะเสียเวลาและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการส่งสมัครมากกว่าจะได้รับการตอบรับจากสถานศึกษาแห่งนั้น

หมายเหตุ การเลือกมหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้เรียนมีความสบายใจระหว่างไปเรียน และเรียนได้บรรลุเป้าหมาย

แต่ละเว็บไซต์ของการจัดอันดับจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการจัดอันดับหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการเน้นแตกต่างกันไป อาทิ เช่น สำรวจความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร , ความพึงพอใจที่มีต่อการสอน , ความพึงพอใจจากผลสะท้อนกลับหรือคำติชม, อัตราส่วนของอาจารย์ต่อจำนวนนักศึกษา, ความสามารถในการได้งานหลังจากเรียนจบได้หกเดือน, ปริมาณงานวิจัย และอื่นๆ

เว็บไซต์ของหน่วยงานจัดอันดับสถานศึกษาในสหราชอาณาจักรที่เป็นที่นิยม คือ

1. หนังสือพิมพ์ The Guardian    http://www.guardian.co.uk/education/universityguide

2. หนังสือพิมพ์ The Independent                http://www.thecompleteuniversityguide.co.uk/league-tables/rankings

3. หนังสือพิมพ์ The Times  หากไม่ได้เป็นสมาชิกของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว การเข้าไปค้นหาข้อมูลอาจจำเป็นต้องใช้เว็บไซต์อื่นเพื่อลิงก์เข้าไปดูรายชื่อมหาวิทยาลัย เช่น ใช้เว็บไซต์ http://www.university-list.net/uk/rank/univ-0000.htm

4. หนังสือพิมพ์ The Sunday Times   http://www.thesundaytimes.co.uk/sto/University_Guide/ ซึ่งการจะเข้าไปศึกษาข้อมูลทางออนไลน์ จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved.

เปรียบเทียบระบบโรงเรียนประถมและมัธยมใน 5 ประเทศชั้นนำ


ความต้องการของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในต่างประเทศในระดับมัธยมศึกษามีปริมาณเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี นอกจากเหตุผลในเรื่องของการเตรียมพร้อมด้านภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาเป็นเหตุผลในการตัดสินใจของผู้ปกครอง อาทิ ความไม่เห็นด้วยกับระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย, ความไม่มั่นใจในระบบโรงเรียนของประเทศไทยที่จะสามารถสร้างบุคลิกภาพของบุตรหลานตนให้มีความพร้อมในทุกด้าน อาทิ ความรอบรู้เรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียน ทัศนวิสัย ความคิดเห็นเห็น ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ ตลอดจนการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

ก่อนการตัดสินใจเลือกประเทศที่จะส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อ ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจกับระบบการศึกษาในประเทศนั้นๆ วิธีการสอน วิธีการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาหลังจากเรียนจบจากโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งนั้น ค่าใช้จ่ายในการศึกษารวมทั้งค่ากินอยู่ ระยะเวลาในการไปศึกษาต่อ ความคาดหวังที่ผู้ปกครองต้องการได้รับหลังจากบุตรหลานจบการศึกษา

การศึกษาในต่างประเทศเป็นการลงทุนระยะยาวประเภทหนึ่ง ในสังคมไทยกระแสการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการศึกษาไทยออกมาในด้านลบมากกว่าบวก แต่มิได้หมายความว่า การศึกษาไทยไม่ได้สาระไปเสียทั้งหมด ผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาในแต่ละประเทศ ต่างก็พยายามจัดระบบการศึกษาให้รองรับกับพื้นฐานด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นๆในระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์หนึ่งในสังคมที่มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาในหลายๆประเทศเป็นอย่างมากคือ การแข่งขันและการเปรียบเทียบ อาทิ การแข่งขันในระบบการคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษา การแข่งขันในหมู่ผู้ปกครองกันเอง การแข่งขันในเรื่องการคัดเลือกเข้าทำงานในสถาบันชั้นนำ การแข่งขันในเรื่องระบบเงินเดือน การแข่งขันเพื่อให้ได้รับการพิจารณาความดีความชอบในการทำงาน และอื่นๆ ดังนั้นจึงไม่มีหลักการที่แน่นอนที่จะกำหนดได้ว่า ควรเริ่มส่งบุตรหลานไปศึกษาในต่างประเทศเมื่อไรถึงจะดีที่สุด ผู้ปกครองควรศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายและความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย เพื่อประกอบการคิดคำนวณว่า ควรจะเริ่มส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในต่างประเทศในระดับชั้นเรียนใดดี

แผนผังด้านล่างแสดง ตารางการเปรียบเทียบชั้นเรียนในประเทศต่างๆ ที่ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในต่างประเทศพร้อมกับหลักสูตร International Baccalaureate หรือ IB ที่หลายโรงเรียนในหลายประเทศนำเข้าไปใช้ในเป็นตัวเลือกในการสอนในโรงเรียนตนนอกเหนือไปจากการสอนเพื่อสอบให้จบตามช่วงสุดท้ายของชั้นเรียนในระบบการศึกษาของประเทศนั้นๆ  ทั้งนี้ทั้งนั้น การเตรียมสอบในขั้นตอนสุดท้ายก็เพื่อที่จะใช้คะแนนดังกล่าวในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอีกทีหนึ่ง

อายุ(ปี)

USA UK Canada IB Australia

New Zealand

5 Kindergarten Year1 Kindergarten Kindergarten Level1(Primary1)
6 Grade1 Year1 Grade1 PYP Year1 Level1(primary2)
7 Grade2 Year2 Grade2 PYP Year1 Level2(Standard1)
8 Grade3 Year3 Grade3 PYP Year2 Level2(Standard2)
9 Grade4 Year4 Grade4 PYP Year3 Level2-3(Standard3)
10 Grade5 Year5 Grade5 PYP Year4 Level3(Standard4)
11 Grade6 Year6 Grade6 MYP Year5 Level3-4(standard5/F.1)
12 Grade7 Year7 Grade7 MYP Year6 Level4(Ftandard6/F.2)
13 Grade8 Year8 Grade8 MYP Year7 Level4(Form3)
14 Grade9 Year9(Pre-GCSE) Grade9 MYP Year8 Level5(Form4)
15 Grade10 Year10(GCSE) Grade10 MYP Year9 Level5-6(Form5/NCEA1)
16 Grade11 Year11(GCSE) Grade11 DP Year10 Level6-7(Form6/NCEA2)
17 Grade12 Year12(Lower sixth form) Grade12 DP Year11 Level7-8(Form7/NCES3)
18  PG Year13(Upper sixth Form) Grade12+(Ontario) Year12

หากเปรียบเทียบอายุเริ่มเข้าเรียนในระบบโรงเรียนของแต่ละประเทศจะไม่แตกต่างจากโรงเรียนในประเทศไทยมากนัก บางประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร และประเทศนิวซีแลนด์อาจจะเริ่มชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่อเด็กอายุ 5 ปีหรือ 6 ปีก็ได้ ส่วนใหญ่ผู้ปกครองจากประเทศไทยที่มีความมั่นคงทางการเงินในระดับดีจะเริ่มให้เด็กไปเข้าเรียนในต่างประเทศหลังจากบุตรหลานจบชั้นประถมศึกษาในประเทศไทยแล้ว ค่าใช้จ่ายโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นโรงเรียนประจำในสหราชอาณาจักร และประเทศสหรัฐอเมริกาจะอยู่ในราวประมาณ 1,500,000 บาทต่อปี

อนึ่ง ข้อสังเกตในการเลือกไปเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายของประเทสสหรัฐอเมริกากำหนดให้นักเรียนต่างชาติมีสิทธิ์เข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลได้เพียง 1 ปีเท่านั้น ซึ่งผู้ปกครองไทยมักจะส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษากับโครงการแลกเปลี่ยนต่างๆ อาทิ AFS, Rotary เป็นต้น หากพิจารณาจากเงื่อนไขที่รัฐบาลสหรัฐกำหนดไว้ คือ หลังจากจบโครงการแลกเปลี่ยน ถ้านักเรียนต้องการเข้าเรียนต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหรัฐอเมริกา นักเรียนจำเป็นต้องย้ายที่เรียนจากโรงเรียนรัฐบาล(Public School) ไปเรียนในโรงเรียนเอกชน (Private School) และเปลี่ยนสถานภาพจากวีซ่า J-1 เป็นวีซ่า F-1 โดยกลับมาขอวีซ่าใหม่ที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร ผู้ปกครองสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสหรัฐอเมริกา      http://travel.state.gov/visa/temp/types/types_1269.html 

หากผู้ปกครองสนใจจะค้นหาข้อมูลเพิ่อศึกษาเรื่องโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศต่างๆในเชิงลึก หรือ ด้วยตนเอง นอกเหนือไปจากการใช้บริการจากเอเจนซี่ทางการศึกษาในประเทศไทย ขอแนะนำเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ดังนี้คือ

1. USA :  http://boardingschools.com/

2. UK:   http://www.ukboardingschools.com/

3. Canada: http://www.studycanada.ca/english/school_find.php

4. Australia: http://acaca.bos.nsw.edu.au/go/changing-schools/new-south-wales/standards-and-benchmarking/เว็บไซต์แรกนี้จะทำให้ผู้ปกครองทีสนใจทราบข้อมูลเชิงลึกได้ทราบว่า ภายในรัฐต่างๆของประเทศออสเตรเลียเองนั้น ตัวโรงเรียนมัธยมศึกษายังจะมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องการจัดลำดับชั้นเรียนและการจบการศึกษาด้วย   ส่วนเว็บไซต์ถัดไปจะใช้ในการค้นหาข้อมูลโรงเรียนประจำในรัฐต่างๆ  http://www.boardingschools.com.au/ เว็บไซต์ที่จะรวบรวมรายชื่อโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชนในประเทศออสเตรเลียที่มีรายละเอียดค่อนข้างมากคือเว็บไซต์ของวิกิลีกส์     http://en.wikipedia.org/wiki/Lists_of_schools_in_Australia

5. New Zealandhttp://www.minedu.govt.nz/Parents/AllAges/SchoolSearch.aspx

6. โรงเรียนที่มีหลักสูตร IB เปิดสอนhttp://www.ibo.org/school/search/ เช่นในหน้าที่ 90 จะพบรายชื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทยที่มีหลักสูตร IB เปิดสอน

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved.