Monthly Archives: July 2010

ธนาคารในสหรัฐอเมริกา


ธนาคารในสหรัฐอเมริกามีหลายธนาคาร เช่น Bank of America, US Bank, Well Fargos และอื่นๆ ฯลฯ ในแต่ละรัฐจะมีทั้งธนาคารใหญ่ๆ และธนาคารท้องถิ่นที่ชื่อของธนาคารอาจไม่คุ้นหูนักศึกษา ในวันปฐมนิเทศก์นักศึกษาใหม่ International Student Officer ประจำมหาวิทยาลัยนั้นๆ จะแจกเอกสารหรือคู่มือที่นักศึกษาควรทราบ ซึ่งภายในเนื้อเรื่อง จะมีการกล่าวถึงธนาคารที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสถานศึกษานั้นๆด้วย อนึ่งในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียนภายใต้หัวข้อ International Student Office นักศึกษาก็สามารถเข้าไปค้นหา ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการเงินการธนาคารได้ ก่อนเดินทางไปฟังปฐมนิเทศก์ที่มหาวิทยาลัย

รายชื่อ Top 10 Banks ในสหรัฐอเมริกา มีดังนี้คือ

1.   Bank of America Corp. มี  Headquarters อยู่ที่  Charlotte, N.C.

2.   J.P.Morgan Chase & Company มี  Headquarters  อยู่ที่   New York, NY

3.   Citigroup  มี   Headquarters  อยู่ที่   New York, NY

4.  Wells Fargo & Company  มี  Headquarters  อยู่ที่  San Francisco, CA

5.   Goldman Sachs Group,Inc, The  มี   Headquarters  อยู่ที่  New York, NY

6.   Morgan Stanley มี  Headquarters   อยู่ที่  New York, NY

7.   Metlife Inc. มี   Headquarters อยู่ที่   New York, NY

8.   Barclays Group US Inc.  มี  Headquarters  อยู่ที่   Wilmington, DE

9.   Taunus Corporation  มี  Headquarters อยู่ที่   New York, NY

10. HSBC North America Holdings Inc. มี  Headquarters  อยู่ที่   New York, NY

Source: Federal Reserve System, National Information Center as of  June30, 2010 ( http://www.ffiec.gov/nicpubweb/nicweb/top50form.aspx) ถ้าใช้ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2012 JP Morgan จะขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ส่วน Bank of America Corp จะเลื่อนลงไปอยู่อันดับที่ 2  ส่วนลำดับที่ 6-10 จะมีการเปลี่ยนแปลงไป

อนึ่ง นักเรียนนักศึกษาไม่สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ของคนไทยที่ไปตั้งสาขาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ หากมีข้อสงสัย โปรดสอบถามกับเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่นักศึกษาสนใจและทราบว่ามีสาขาของธนาคารแห่งนั้นตั้งอยู่ในต่างประเทศ โดยอาจสอบถามกับเจ้าหน้าที่ด้านต่างประเทศของธนาคารแห่งนั้นๆ

หลักเกณฑ์การเลือกเปิดบัญชีธนาคารเวลาไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกา

1. เลือกธนาคารที่ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย ที่เรากำลังศึกษาอยู่ หรือ ใกล้กับหอพัก เพื่อความสะดวกในการเดินทาง แม้บางเมืองที่ไปศึกษาต่อจะไม่มีชื่่อธนาคารใหญ่ๆที่เราคุ้นหู นักศึกษาก็จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับธนาคารท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ๆนั้น เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางไปทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงิน หรือถอนเงิน

ตามที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นแล้วว่า เว็บไซต์ของสถานศึกษาที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียนในหน้าที่เกี่ยวข้องกับ International Student Office จะแจ้งรายชื่อธนาคารที่อยู่ในละแวกเดียวกับที่สถานศึกษานั้นตั้งอยู่ บางสถานศึกษาจะมีธนาคารตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำไป ดังนั้น นักศึกษาไม่ต้องกังวลในเรื่อง 1. จะเปิดบัญชีกับธนาคารชื่ออะไรดี 2. การเปิดบัญชีธนาคารจะยุ่งยากไหม ให้สังเกตว่า ในรายการปฐมนิเทศก์นักศึกษาใหม่ ( Orientation) หัวข้อประกอบการบรรยายทุกครั้ง คือ การแนะนำการเปิดบัชีกับธนาคาร ในวันปฐมนิเทศก์ยังจะมีตัวแทนจากธนาคารต่างๆที่ตั้งอยู่ในละแวกเดียวกับมหาวิทยาลัยเข้ามาทำการประชาสัมพันธ์และอธิบายวิธีการเปิดบัญชีธนาคาร พร้อมทั้งมีของชำร่วย และทางเลือกของการใช้เครื่องมือทางการเงินอีกมากมายไว้ให้ผู้เปิดบัญชีใหม่ด้วย

2. นักศึกษาควรสอบถามเพิ่มเติม ถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อใช้เปรียบเทียบในการเลือกธนาคาร

3. ธนาคารบางแห่งมีข้อเสนอพิเศษ ที่เพิ่มแรงจูงใจให้นักศึกษาอยากฝากเงินที่ธนาคารนั้นๆ เช่น มีสมุดเขียนเช็คแจกฟรี ในการเปิดบัญชี Checking account ครั้งแรก

4. นักศึกษาบางท่านมีความละเอียดรอบคอบ ที่จะถามเจ้าหน้าที่ธนาคารก่อนล่วงหน้า ในเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าบัตรเดบิตของธนาคารในสหรัฐฯ, ค่าธรรมเนียมการซื้อสมุดเช็ค, ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน, ระยะเวลาที่ใช้ในการรับเงินโอนจากประเทศไทย, บริการเสริมพิเศษที่ธนาคารแห่งนั้นมี แต่ธนาคารอื่นอาจไม่มี เป็นต้น ข้อมูลที่นักศึกษาได้รับจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในการเลือกเปิดบัญชีกับธนาคารว่า ควรเลือกธนาคารแห่งใดดี

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษตอนปลายให้รู้จักการใช้ธนาคารและบริการทางการเงิน มีวิดีโอที่นักศึกษาสามารถค้นคว้าหาข้อมูลเหล่านี้ได้ด้วยตนเองก่อนเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ยกตัวอย่างวิดีโอเกี่ยวกับการเงินและการธนาคารที่น่าสนใจชุดหนึ่ง เป็นชุดวิดีโอที่ผลิตโดย Ram Institute for High School Education นักศึกษาที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐฯควรซ้อมฟังวิดีโอชุดดังกล่าวเพื่อเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษและวิธีการไปติดต่อทำธุรกรรมกับธนาคาร วิดีโอชุดดังกล่าวสามารถหาดูได้ใน YouTube  http://www.youtube.com/user/RIHSE

ท้ายเรื่องนี้ขอยกตัวอย่างรายชื่อเว็บไซต์ของธนาคารใหญ่ๆ ในสหรัฐซึ่งนักศึกษา สามารถเข้าไปศึกษาก่อนล่วงหน้าเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกา เช่น  วิธีการฝากและถอนเงิน ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินที่ธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาเรียกเก็บจากลูกค้า ก่อนที่นักศึกษาจะได้รับเงินที่ส่งไปจากประเทศไทย นักศึกษาจะต้องถูกหักค่าโอนเงินจากธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย

ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยจะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินแตกต่างกัน โดยธนาคารบางแห่ง จะชี้แจงค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งฝั่งไทยและฝั่งสหรัฐฯ บางแห่งจะชี้แจงเฉพาะฝั่งไทยฝั่งเดียว  กฎระเบียบนี้เกิดขึ้นกับการโอนเงินไปทุกธนาคารในต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะกับธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น 

ธนาคารมักใช้คำศัพท์เรียกค่าธรรมเนียมในการโอนเงินระหว่างประเทศดังนี้

1. Charge Ben ( Charge Beneficiary) หมายถึง ค่าธรรมเนียมเงินโอน ที่ผู้รับผลประโยชน์ปลายทางต้องเป็นผู้รับภาระในการจ่ายเองก่อนที่จะได้รับเงินทั้งก้อนทีผู้โอนจากประเทศไทยโอนไปเข้าบัญชีผู้รับในต่างประเทศ

2. Charge our หมายถึง ผู้โอนออกจากประเทศไทยต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าธรรมเนียมทั้งสองฝั่ง เช่น ผู้ปกครองจากเมืองไทย จ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนเงินทั้งที่เมืองไทยและที่ต่างประเทศ เพื่อให้ผู้รับปลายทางได้รับเงินโอนเต็มจำนวน โดยไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใดๆเพิ่มอีก แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเกิดขึ้นได้อีกเล็กน้อย ถ้านักศึกษาท่านนั้นอยู่ในเมืองเล็กๆ ซึ่งอาจจะมีค่าธรรมเนียมที่ธนาคารท้องถิ่นเล็กๆนั้นคิดเพิ่ม

ระยะเวลาในการโอนเงินปกติใช้ 1 วัน ถ้าเป็นเมืองเล็กมากๆ อาจมากกว่า 1 วันได้

รายชื่อเว็บไซต์ธนาคารใหญ่ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น

1. Bank of America :

http://www.bankofamerica.com/deposits/checksave/index.cfm?template=lc_faq_wire

2. Wells Fargo :

http://www.bank-locations.com/wellsfargo_locations/?bank=4

ถ้าสนใจการโอนเงินของ Wells fargo ซึ่งมีอยู่ใน 23 รัฐ ดูที่เว็บไซต์

 https://www.wellsfargo.com/per/intl_remittance/asia

3. US Bank :

 http://www.usbank.com/en/PersonalHome.cfm

4. HSBC:

http://www.hsbcinvestments.us/1/2/3/personal/savings

Copyright © 2010 GoVisa All rights reserved.

จัดกระเป๋าเสื้อผ้าไปเรียนต่อเมืองนอก


น้องๆที่จะไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีสิทธิ์ถือกระเป๋าได้ 2 ใบ น้ำหนักกระเป๋าแต่ละใบต้องไม่เกิน 23 กิโลกรัมหรือ 50 ปอนด์ ส่วนน้องๆที่ไปเรียนต่อประเทศในยุโรปหรือเอเซีย มีสิทธิ์ถือกระเป๋าได้คนละ 1 ใบเท่านั้น น้ำหนักกระเป๋าคือ 20 กิโลกรัม ดังนั้น การจัดกระเป๋า ควรพิจารณาเลือกเฉพาะสิ่งที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ในต่างประเทศจริงๆ ส่วนขนาดกระเป๋านอกจากจะดูจากขนาดมาตราฐานที่สายการบินกำหนด แล้วยังดูที่ความเหมาะสมของผู้เดินทางมีรูปร่างเล็กหรือใหญ่อีกด้วย กระเป๋าเดินทางใบใหญ่ 2 ใบควรมีความกว้าง ยาว หนา รวมกัน 62 นิ้ว ส่วนกระเป๋า Carry-on มีขนาดกว้าง ยาว หนาประมาณ 22*14*9 นิ้ว (56*35*23 ซม.) กระเป๋าเดินทางควรมีล้อเพื่อสะดวกในการลากจูง ไม่ควรเลือกกระเป๋าเดินทางที่มีขนาดเกินมาตราฐานที่สายการบินกำหนด เพราะจะถูกปรับ ข้อมูลเหล่านี้ หาดูได้จากเว็บไซต์ของสายการบินที่ใช้ในการเดินทาง เช่น

สิ่งของที่นำไปด้วย

1. เสื้อผ้าที่ใช้ใส่ไปเรียน นักศึกษาในต่างประเทศสามารถเลือกใส่ชุดอะไรไปเรียนก็ได้ เพราะไม่ต้องสวมใส่เครื่องแบบ ส่วนใหญ่นักศึกษานิยมนุ่งกางเกงยีนส์ เสื้อเชิ้ต เสื้อโปโล กรณีอากาศเย็นอาจสวมเสื้อ Pullover หรือ Sweater ทับได้ แต่ถ้าหนาวจัด ต้องการความอบอุ่นมากกว่านี้อาจมีเสื้อโค้ด หรือ แจ็คเก็ตหนาๆสวมทับอีกที นักศึกษาสามารถหาดุูรูปภาพเสื้อประเภทต่างๆ ได้จากภาพยนต์ที่เกี่ยวกับวัยรุ่น หรือจาก search engine หลากหลาย อาทิ Google,YouTube, Google Maps ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในต่างประเทศจะมีภาพยนตร์สั้นๆให้นักศึกษาได้เห็นหน้าตามหาวิทยาลัย, บริเวณมหาวิทยาลัย, คณะต่างๆในมหาวิทยาลัยแห่งนั้น, การเรียนในชั้นเรียน, หอพัก ตลอดจนชีวิตนักศึกษาในสถานศึกษานั้นๆ ผู้ปกครองและนักศึกษาถ้าได้ทำการค้นหาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตมากครั้ง จะเกิดความรู้สึกเหมือนกับการเดินทางไปมหาวิทยาลัยไม่ได้ดูน่ากลัวหรือยุ่งยากเหมือนที่คิด เนื่องจากปัจจุบันเรามีสื่อออนไลน์มากมายที่จะเป็นตัวช่วยการค้นหาข้อมูลนั่นเอง ในที่นี้ จะขอยกตัวอย่างภาพยนตร์สั้นๆบางเรื่องที่ทำให้เราเห็นการแต่งกายของนักศึกษา

  • Living on Campus at UCLA     จะได้เห็นว่า นักศึกษาแต่งตัวกันอย่างไร หน้าตาหอพัก และอื่นๆ  http://www.youtube.com/watch?v=vkkKy5KBlAI
  • สำหรับนักศึกษาที่ต้องไปอยู่ในรัฐที่มีอากาศหนาว อาจจะลองดูภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยที่ตนกำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อ อาทิ Cornell University ในฤดูหนาว  http://www.youtube.com/watch?v=BKUeaRrZ6oU&feature=related หรือนักศึกษาปริญญาโทบริหารธุรกิจที่  New York University จะมีการแต่งกายที่แตกต่างจากการไปศึกษาต่อวิชาอื่นๆ  ขอเน้นว่า เฉพาะผู้ที่จะเตรียมตัวไปเข้าเรียนต่อ MBA ในมหาวิทยาลัยระดับชั้นนำของประเทศ การแต่งกายของนักศึกษาจะค่อนข้างเหมือนคนไปทำงานบริษัทมากกว่า คือ นิยมใส่เชิ้ตแขนยาวและมีเสื้อคอปิดหรือเสื้อสูทสวมทับไปเรียนกัน    http://www.youtube.com/watch?v=MkEmgqkadSw&feature=related แต่ชีวิตนอกห้องเรียนของนักศึกษาเหล่านี้ก็ไม่ต่างจากนักศึกษาทั่วไป http://www.youtube.com/watch?feature=endscreen&v=ngDvRr2gQsY&NR=1  ดังนั้นการได้ศึกษาตัวอย่างจากภาพยนตร์สั้นๆเหล่านี้ไว้บ้างจะช่วยทำให้นักศึกษาเตรียมนำเสื้อผ้าทำนองนี้ติดกระเป๋าเดินทางไปบ้าง ไม่ต้องไปลำบากหาที่ต่างประเทศในช่วงวันแรกๆที่เพิ่งเดินทางไปถึงใหม่ๆ

2. เสื้อใช้ในโอกาสพิเศษ เช่นใช้ Present งาน หรือใช้สมัครงาน ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ควรเตรียมกางเกงทรง Slack กับเสื้อสูทไปด้วย สำหรับชุดไทยๆ ควรมีไปบ้างเพื่อนำไปใช้ในงาน International night หรือ Thai night ด้วยก็ดี  เพราะเป็นหนทางหนึ่งในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย

3. ชุดชั้นใน เตรียมไปพอประมาณ เพราะถ้าไปอยู่นานเกิน 1 ปีคงต้องซื้อชุดชั้นในในต่างประเทศใช้บ้าง อย่ากังวลเรื่องรูปทรงหรือขนาด เพราะมีหลายขนาดและหลายแบบให้เลือก

4. ยารักษาโรค นักศึกษาบางคนมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาเป็นประจำ ถ้าต้องนำไปด้วยเป็นปริมาณมาก ควรมีใบรับรองจากแพทย์ บอกปริมาณการรับประทานยา ชื่อโรคประจำตัวไว้ด้วย กรณีถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรในสหรัฐอเมริกาซักถาม

5. แว่นตา หรือ contact lens ควรเตรียมชุดสำรองไปด้วยสัก 2 หรือ 3 ชุด เพราะการซื้อ แว่นตา หรือ contact lens ต้องมี eye measurement จากแพทย์ที่วัดสายตาจึงจะซื้อแว่นตาใหม่ หรือ contact lens ใหม่ได้

6. อาหาร ไม่ควรนำอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ผักสด หรือ อาหารที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์เข้าประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น ข้าวตังหมูหยอง หมูแผ่น เป็นต้น เพราะนอกจากจะต้องทิ้งแล้วยังอาจถูกปรับอีกด้วย ถ้าไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกาสามารถดูได้ที่ http://www.cbp.gov/xp/cgov/travel/id_visa/arriving_travelers.xml ส่วนสิ่งของใดที่ไม่ควรนำขึ้นเครื่องดูที่  http://www.tsa.gov/travelers/airtravel/prohibited/permitted-prohibited-items.shtm

7. ของฝาก เช่น ของฝากที่แสดงเอกลักษณ์ไทย ควรนำติดตัวไปด้วยบ้าง เพื่อมอบให้อาจารย์ที่ปรึกษาหลังจากจบการศึกษาแล้ว ไม่ควรให้อาจารย์ก่อนเรียนจบ เพราะอาจารย์บางท่านจะไม่ยอมรับ เกรงจะเป็นการติดสินบน นอกจากจะให้อาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ยังอาจมีไว้แจกเพื่อน หรือคนรู้จักเพื่อแนะนำประเทศไทย

8. หนังสือเรียน เลือกเล่มที่ถูกใจจริงๆ เพราะหนังสือจะเพิ่มน้ำหนักกระเป๋า ทำให้ไม่สามารถนำของที่ต้องการนำไปใช้จริงๆไปได้ เพราะกระเป๋ามีน้ำหนักเกิน สำหรับพจนานุกรม ในปัจจุบันนอกจากมี Talking Dict แล้ว นักศึกษายังสามารถค้นหาคำศัพท์ได้จากเว็บไซต์ประเภทพจนานุกรมออนไลน์ทั้งหลาย

อนึ่ง ในปัจจุบันมีหนังสือหลายประเภท เช่น หนังสือพิมพ์ นวนิยาย ฯลฯ ในประเทศไทย ที่หนังสืออยู่ในลักษณะประเภท eBook ซึ่งอาจจะช่วยคลายความเหงาของนักศึกษา กรณีต้องการอ่านหนังสือเป็นภาษาไทย เพียงแต่บางเล่มอาจต้องจ่ายเงินค่าดาวน์โหลดหนังสือเท่านั้นเอง

Copyright © 2010 GoVisa All rights reserved.

รวบรวมเรื่อง contact lens


น้องหลายคนสอบถามมาว่า จะซื้อ contact lens ที่อเมริกาได้อย่างไร สรุปคำตอบจากผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ Contact Lens ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ดังนี้ คือ

1. ให้เตรียมนำ contact lens ไปให้มากพอที่จะเอาไปได้

2. อย่าลืมนำ eye measurement จากหมอที่เมืองไทยเป็นภาษาอังกฤษไปด้วย

3. น้ำยาหาซื้อได้ที่อเมริกา ถ้าไม่ต้องการเป็นภาระนำไปจากประเทศไทยจำนวนมาก แต่ก็มีบางคนที่ชอบใช้แบรนด์นี้และจะใช้แต่เฉพาะแบรนด์นี้เท่านั้น บางเมืองบางรัฐแบรนด์ดังกล่าวอาจจะไม่มีขาย หรือมีแต่ราคาแพง ซื้อจากเมืองไทยไปคุ้มกว่า ก็อาจจะให้ทางบ้านซื้อหาและจัดส่งทางไปรษณีย์ไปให้ในภายหลัง

รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ที่เคยมีประสบการณ์ไปอยู่ต่างประเทศ

Yong 

  • Many guys buy them from Thailand. I heard that it’s quite difficult to buy them in US.
  • พอดีผมเคยได้ยินมาว่าจะซื้อ contact lens จะต้องมีใบสั่งจากแพทย์น่ะครับ อย่างพี่เจ้าของร้านอาหารไทยในเมืองผมเค้าจะฝากน้องๆที่กลับไทยให้เอา contact lens มาให้เค้าขากลับมาที่เมืองครับ

Katai

  • My bf also bought a bunch of them from Thailand . I recommend it that way.
  • Well, if u wanna buy contact lens here, u need to have an eye measurement paper to buy the contact lens. The eye measurement fee is $80 in Washington . I’m not sure how much in DC. Btw, I don’t think it is heavy . U can just buy only contact lens, and buy the solute in the U.S. . Hope it helps u .
  • Oops, sorry . I misunderstood. U can buy the solution in US. Even it is more expensive but it has a good quality.
  • No need medical certificate. As long as u don’t buy more contact lens in the U.S., it’s unnecessary. However, it ll be better to ask for English prescription from doctor in Thailand in order to be easy in case that u wanna buy some more in the U.S.

Wises 

If it is standard number, I think it is quite easy.Only price is concern, may be more expensive.Problem is when our eyesight are not equal.I recommend 2 pairs of eyeglasses.

Puttarin 
Absolutely you can buy contact lens in the U.S. even you don’t have eye insurance. But It’s expensive (like every said). I’m near sighted and have astigmatism. I got the examination(around 1 hour) and 6 pairs of contact lens (in a few days later) and they charged me for around $235 . (It’s the price in Iowa) Solutions are easily found  at Walgreens, CVS, and other supermarkets.
Jutamas 

In case of lens cleanners, they are the same ones as in Thailand . However, I think the prescription is needed for contact lens ka. So, the best way is bring all of contact lens from Thailand and buy the lens cleaner here . In case of prescription medicine, students must have insurance; they will have to co-pay for prescription medicine which should be 30% of the price .

Nattaya 

contact lens แนะนำให้เตรียมจากเมืองไทยไปสำรองด้วย ถ้าไปไม่นานก็เตรียมให้พอเลยดีกว่าค่ะ แต่ถ้าต้องการซื้อเพิ่มที่นั่นก็ไม่ยากเลย ซื้อได้ตามร้าน optician หรือร้านขายแว่นตาทั่วไป อันนี้คล้ายๆบ้านเราค่ะ ที่ร้านแว่นก็มีบริการตรวจวัดสายตาด้วย ส่วนราคาcontact lensนี้ไม่ทราบเลยค่ะ ส่วนตัวเตรียมไปเผื่อเลยไม่ได้ซื้อเพิ่ม สำหรับน้ำยา contact lens นั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาล้าง แช่ หรือน้ำตาเทียมก็ซือได้ตามร้านยาทั่วไป เช่น Walgreen, Walmart, Target เป็นต้น ยี่ห้อก็มีเหมือนๆบ้านเรา แต่ราคาจะสูงกว่าบ้านเราประมาณ 3 เท่า (อ้างอิงราคาจาก San Francisco)
Copyright © 2010 GoVisa All rights reserved.

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตก


ใกล้เปิดภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วง (FALL) น้องๆหลายคนกำลังเตรียมตัวเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ สิ่งหนึ่งที่อยากแนะนำให้น้องๆเข้าไปอ่าน (ถ้ามีเวลา) คือ การปรับตัวให้เข้ากับอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตนเอง หากเรามีความเข้าใจคนอีกวัฒนธรรมหนึ่ง โดยพยายามศึกษาวัฒนธรรมเขาไปก่อนล่วงหน้า จะทำให้เราดำเนินชีวิตในต่างประเทศได้อย่างมีความสุข  University of the Pacific ในรัฐ California มี Online Cultural Learning Resource For Study Abroad แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่จะเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศ อยู่บน website ของมหาวิทยาลัย หลักสูตรของเขาน่าสนใจ ใช้คำศัพท์ไม่ยาก และทำให้เห็นว่า ชาวตะวันตกชอบทำวิจัยและเรียนรู้ พร้อมทั้งให้ข้อมูลแก่คนของเขาเพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนไปพบกับสิ่งที่จะพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตามในต่างประเทศ ลองเข้าไปอ่านกันได้ที่       www2.pacific.edu/sis/culture

เนื้อหา มี 3  Modules ดังนี้คือ

1. บทนำ What’s up with culture?

2. Module ที่ 1 ว่าด้วย What to know before you go มีทั้งหมด 7 ตอนสั้นๆคือ

2.1  If you are going abroad soon

2.2  Culture the Hidden Dimension ว่าด้วย The Iceberg, Linking Values to Behavior และ More on Culture: Defined and Refined

2.3  Culture: Yours, Ours and Theirs

2.4  Whose Fault? Why Values Matters

2.5  Packing Up

2.6  Communication Across Cultures: What are they?  Trying to say?

2.7  Surprises and Shocks

3. Module ที่ 2 ว่าด้วย Welcome back! Now What? เหมาะสำหรับน้องๆที่เรียนจบแล้ว จะต้องกลับมาเมืองไทย หลายคนที่บ่นว่า อยากกลับไปอยู่อเมริกาอีก ไม่อยากกลับเมืองไทยเลย ลองดูว่าฝรั่งเขาเตรียมกำลังคนของเขาให้กลับมา ปรับตัวให้เข้ากับสภาพวัฒนธรรมเดิมของตนเองอย่างไร มีทั้งหมด 5 ตอน ดังนี้คือ

3.1  Preparing to come back home

3.2  If you are preparing to return home soon…..

3.3  Back Home: Neither here nor there

3.4  What did you learn abroad?

3.5  Say No to Shoeboxing มี 2 ตอนว่าด้วย Twelves Tips for Welcoming Returnees Home และ Remaining Time in School

4.  ว่าด้วยคำศัพท์และหนังสืออ่านเพิ่มเติม ถ้าสนใจจะเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาติอื่นๆ

ขอให้น้องๆทุกคนเดินทางไปเรียนต่อในต่างประเทศอย่างปลอดภัย  และประสบความสำเร็จในการเรียนทุกคน

Copyright © 2010 GoVisa All rights reserved.