Monthly Archives: June 2012

แนะนำเว็บไซต์กองตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา(ICE)


หลังจากได้เข้าไปอ่านเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการชำระค่าธรรมเรียม Sevis I-901 ทำให้ได้ไปพบข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ U.S.Immigration and Customs Enforcement(ICE) ที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาที่กำลังจะเดินทางเข้าไปศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์ดังกล่าวคือ  http://www.ice.gov/index.htm#most-wanted

ภายใต้หัวข้อ Students ด้านล่างซ้ายมือ เมื่อคลิกไปที่คำว่า นักศึกษาต่างชาติ (International Student) จะได้หน้าตาเว็บไซต์ดังภาพล่าง

 

เมื่อนักศึกษาคลิกคำว่า Students ในคอลัมน์ด้านซ้ายมือ จะพบรายละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนจำนวน 10 ขั้นตอน คือ

  1. Start Here: I want to study in the United States. How do I start?
  2. How do I pay Sevis I-901 fee?
  3. How do I get a visa to enter the United States?
  4. How should I prepare for my trip to the United States?
  5. Arrive in the United States: What should I do when I arrive?
  6. When do I have to report to my school?
  7. What are my benefits?
  8. Maintaining status
  9. Problems? What happens if?
  10. Departure

หากนักศึกษาเลือกคำว่า Expand All จะได้สรุปย่อทั้ง 10 ขั้นตอนดังนี้คือ

หากนักศึกษาเลือก Collapse All จะพบขั้นตอนทั้งหมดที่มีอยู่ด้วยกัน 4 ชุดชุดละ 3 ขั้นตอน รวม 3 ชุดและชุดสุดท้าย 1 ขั้นตอน กล่าวคือ

ขั้นตอนที่  1-3      Pre-Arrival

ขั้นตอนที่  4-6      Arriving

ขั้นตอนที่  7-9      While in the United States

ขั้นตอนที่  10       Departing

ยกตัวอย่างเช่นในขั้นตอนที่ 2 จะกล่าวถึงจะชำระค่าธรรมเนียม Sevis I-901 ได้อย่างไร ดังภาพล่าง

จากภาพแผนผังที่ทางกองตรวจคนเข้าเมืองแสดงให้นักศึกษาทราบเป็นลำดับพร้อมทั้งข้อมูลและลิงก์เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้อง ทำให้นักศึกษาที่ตัดสินใจจะไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วยตนเอง และหากปฏิบัติตนถูกต้องตามแต่ละขั้นตอนที่ทางการอเมริกันให้ไว้ จะทำให้นักศึกษาสามารถดูแลตนเองได้ทั้งระหว่างการติดต่อสถานศึกษาจนกระทั่งได้รับการตอบรับและเตรียมตัวเดินทางเข้าประเทศสหรัฐฯ

อนึ่ง จากรูปภาพที่2 ของเว็บไซต์ ICE ที่มีล้อมกรอบเหลี่ยมสีแดง 2 กรอบ และมีข้อความเขียนว่า “Information for PC Tech Students(click here) ” กับ ” Information for TSC International/ESRA Film School Students (click here)” ให้นักศึกษาเลือก หากคลิก Expand All ซึ่งเป็นกลุ่มคำที่อยู่ระหว่างคำว่ Print All และ Hide All นักศึกษาจะได้หน้าตาเว็บไซต์เหมือนภาพข้างล่างคือ 

ภายใต้หัวข้อ Study in the States Initiative จะกล่าวถึงเว็บไซต์ที่จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา ชื่อ Study in the States เปิดตัวเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 (ค.ศ.2011) เว็บไซต์ดังกล่าวได้รับการสปอนเซอร์จาก Homeland Security Department หรือกระทรวงความมั่นคงภายในสหรัฐอเมริกา และดำเนินงานโดยหน่วยงาน SEVP ที่จะให้ความรู้แก่นักศึกษาต่างชาติทั้งที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อ รวมถึงนักศึกษาปัจจุบันที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว นอกจากนี้เว็บไซต์ดังกล่าวยังจะมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์กองตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐฯ (ICE) และหน่วยงานอื่นๆ เช่น DoS หรือ Department of State หรือกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกานั่นเอง

ภายใต้หัวข้อ Student จะมีเรื่องราวที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่เตรียมตัวจะเป็นนักศึกษาไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐฯ เช่น ในหัวเรื่อง Students จะแยกออกเป็น นักศึกษาใหม่ (Prospective Students) และนักศึกษาปัจจุบัน (Current Students) หรือ ข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งข้อมูลที่นักศึกษาควรทรา จะมีหลายหัวข้อที่เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของนักศึกษาที่อยากจะทราบก่อนเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐฯ อาทิ การรักษาสถานภาพความเป็นนักศึกษา, การทำงานในประเทศสหรัฐฯ, การขับรถยนต์หรือการมีใบขับขี่ในสหรัฐฯ, การนำบุคคลในครอบครัวของนักศึกษาไปอยู่ด้วย และการหาที่เรียนให้ผู้อยู่ภายใต้การอุปการะ ซึ่งอาจจะเป็นลูกของนักศึกษาเอง

ในส่วนที่เป็นไอคอน Help จะบอกจำนวนข้อมูลใน 6 หมวดคือ Employment, Studying, Traveling, General, Visa and Status และ Forms

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved

เว็บไซต์การขอวีซ่าเข้าสหราชอาณาจักร (2)


ขั้นตอนการขอวีซ่าไปศึกษาต่อที่สหราชอาณาจักร

1. กรอกแบบฟอร์มออนไลน์  http://www.visa4uk.fco.gov.uk/ApplyNow.aspx

 

เมื่อใส่เครื่องหมาย / ในกล่องสี่เหลี่ยมเล็กๆข้างล่างในภาพเพื่อยืนยันการอ่านข้อมูลและคำแนะนำข้างต้นแล้ว นักศึกษาจะเริ่มต้นด้วยการกรอก Application Security ซึ่งก็คือกรอกอีเมล์และรหัสส่วนตัว (Password) เพื่อแสดงตัวตนของผู้กรอกทุกครั้งที่มีการเข้าใช้ในหน้าแบบฟอร์มวีซ่าที่กรอกยังไม่เสร็จ ดังนั้น หากนักศึกษาไม่สามารถกรอกให้เสร็จได้ภายในวันเดียวกัน นักศึกษาสามารถ save ข้อมูลไว้และกลับมากรอกต่อในภายหลังได้

เนื้อหาในการกรอกฟอร์มวีซ่าจะประกอบด้วยรายละเอียดส่วนตัวของผู้ยื่นขอวีซ่า อาทิ เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด วันที่จะเดินทาง วัตถุประสงค์ในการเดินทาง รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง ชื่อที่อยู่ในการติดต่อเมื่อไปถึงสหราชอาณาจักร ชื่อบิดามารดา ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ นักศึกษาสามารถดาวน์โหลดคำแนะนำในการขอวีซ่านักเรียน Tier4  หรือดาวน์โหลดตัวอย่างแบบฟอร์มมาลองกรอกในกระดาษก่อนที่จะกรอกออนไลน์ก็ได้ ผู้สนใจลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/visas-immigration/studying/adult-students/apply-outside-uk/#

ในการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ หน้าสุดท้ายจะมีคำถามที่ถามว่า นักศึกษาเป็นผู้กรอกฟอร์มเอง หรือให้ผู้อื่นกรอกให้ เมื่อนักศึกษาอ่านตรวจทานข้อความที่กรอกไปแล้วว่า มีส่วนใดกรอกผิด สามารถคลิกเข้าไปแก้ไขได้ก่อนจะสั่ง Print ออกมา แต่ เมื่อสั่ง Print ออกมาแล้วจะย้อนกลับไปแก้ไขใหม่อีกไม่ได้ นอกจากกรอกฟอร์มใหม่อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อ Print ฟอร์มที่กรอกเสร็จออกมา ให้นักศึกษาเซ็นต์ชื่อบนกระดาษที่ Print นั้นด้วย หากกรอกยังไม่เสร็จสามารถคลิก save ได้ไม่เกิน 7 วัน โดยถ้าต้องการเข้าไปกรอกใหม่อีกครั้ง ให้เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ http://www.visa4uk.fco.gov.uk/ApplyNow.aspx และคลิกที่ Existing Applications Login here ใส่ Visa Reference Number คือ หมายเลข 9 ตัวตามหลังตัวอักษรที่ขึ้นต้นด้วย GWF.…..ดังนั้นเมื่อคลิก save แล้วให้จดหมายเลข GWF… ไว้ในสมุด หากลืมไม่ได้จดไว้ ให้ย้อนกลับไปดูข้อความจากอีเมล์ที่ VFS ส่งมาให้นักศึกษาเพื่อแจ้งหมายเลข GWF….อีกครั้ง ในทำนองว่า

”  This is your unique Application Number. Please keep it safe for your reference: GWF xxxxxxxxx

To resume your application return to our website at: http://www.visa4uk.fco.gov.uk/ and choose the ‘Existing Applicants Login’ option. There you will be asked to enter your Application Security details, including your unique reference number.

Note: Your incomplete application will only be kept for 7 days. If you do not retrieve and complete the application within 7 days it will be deleted and you will need to make a new application.”

หรือเมื่อกรอกแบบฟอร์มเสร็จแล้ว จะได้รับการแจ้งในลักษณะที่ว่า ”  This is your unique Application Number. Please keep it safe for your reference: GWF xxxxxxxxx

You must now book your appointment on-line, in order to submit your application. You must do this by following the ‘BOOK YOUR ON-LINE APPOINTMENT HERE’ link, shown below. When your appointment has been booked, you must take your printed application, supporting documents and the appropriate fee (unless paid on-line with this application) to the address shown below on the agreed date and time of your appointment.  Your application will not be accepted at any other location.  Failure to submit documents to the address shown below will result in a delay and/or lead to the refusal of your application.”

หากนักศึกษาจองวันนัดหมายออนไลน์ก่อนที่จะลงมือกรอกแบบฟอร์มวีซ่าออนไลน์ ก็ไม่ต้องทำการนัดหมายอีก แต่ถ้าไม่ได้ทำการนัดวันยื่นเอกสารไว้ก่อนกรอกฟอร์มวีซ่า หลังจากกรอกฟอร์มวีซ่าเสร็จแล้ว ต้องทำการนัดวันยื่นเอกสารที่ VFS ระบบการนัดหมายทำได้ทางเดียวคือ นัดหมายทางออนไลน์

https://www.vfs.firm.in/th-apptsystem/appscheduling/appwelcome.aspx

 

ในการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ของวีซ่าประเภทท่องเที่ยว หรือธุรกิจก็จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับการกรอกแบบฟอร์มวีซ่านักเรียน เพียงแต่ฟอร์มที่ใช้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น แบบฟอร์มวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว ชื่อ VAF1A แบบฟอร์มวีซ่าสำหรับนักธุรกิจคือ VAF1C           ( REf:  http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/sitecontent/documents/out-of-country/visitors.pdf )

2. เตรียมหนังสือเดินทาง  พร้อมสำเนาหน้าแรก 1 ฉบับถ้ามีเล่มเก่าๆควรนำไปด้วยทั้งหมด

3. เอกสารทางการศึกษา เช่น transcript

4. จดหมายรับรองฐานะการเงินจากธนาคารของผู้ปกครอง ที่ครอบคลุมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายส่วนตัวตลอดระยะเวลานาน 1 ปี ดังรายละเอียดในคำอธิบายเรื่อง Supporting Documents จาก UKBA (  รูปภาพประกอบหน้าที่ 4 และหน้าที่ 5) เงินจำนวนดังกล่าวจะคงรักษาไว้ในบัญชีในชื่อของนักศึกษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 28 วัน หากใช้บัญชีชื่อผูปกครอง ควรแปลใบสูจิบัตรของนักศึกษาและให้กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมกงสุล ประทับตรารับรองถูกต้อง พร้อมจดหมายยืนยันจากผู้ปกครองว่าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางการศึกษาและใช้จ่ายส่วนตัวของนักศึกษาท่านนั้นด้วย

5. รูปถ่ายไม่สวมแว่นตา ที่มี “พื้นหลังสีขาวเท่านั้น ” 1 ใบ    ขนาด 45X35 มิลลิเมตร

6. ค่าธรรมเนียมวีซ่า  เป็น cashier cheque   สั่งจ่าย ” British Embassy Bangkok ” ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/visas-immigration/studying/adult-students/visa-fees/#

7. หลักฐานการตรวจโรค IOM (อ่านรายละเอียดการตรวจ IOM จากบล็อกเดียวกันนี้เรื่อง  “ตรวจสุขภาพก่อนไปศึกษาต่อต่างประเทศ” )

หมายเหตุ นักศึกษาควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอวีซ่านักเรียนจากเว็บไซต์  http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/sitecontent/documents/out-of-country/documents-t4-gen.pdf  ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 6 หน้า

หน้าที่1 

หน้าที่ 2 

หน้า 3 

หน้า 4 

หน้า5 

หน้า 6 

เมื่อยื่นเอกสารวีซ่า พร้อมชำระค่าธรรมเนียม และประทับลายนิ้วมือเสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ VFS จะให้ใบเสร็จที่มีหมายเลข 13 ตัวอยู่หลังตัวอักษร APET xxxxxx/xxxxxx/x  นักศึกษาสามารถติดตามสถานะของเอกสารได้ 2 ทางคือ

1.ด้วยการเลือกการติดตามสถานะออนไลน์ https://www.vfs.org.in/ukg-passporttracking/applicanttrackstatus.aspx?Data=ULqiHNFSP0FI8SOju2rNnQ==

2. ด้วยบริการ SMS ติดตามใบสมัคร ค่าบริการดังกล่าวจำนวน 75 บาท จ่ายด้วยเงินสดเวลายื่นเอกสารขอวีซ่ากับหน่วยงาน VFS ( http://www.vfs-uk-th.com/additionalservice.html )

หรือจะเลือกใช้ทั้ง 2 วิธีในการติดตามสถานะของเอกสารวีซ่าก็ได้ หากวีซ่าผ่าน นักศึกษาสามารถเลือกที่จะไปรับหนังสือเดินทางคืนจาก VFS ตามวันและเวลาในภาพข้างล่าง โดยนักศึกษาต้องนำใบเสร็จจ่ายค่าธรรมเนียมวีซ่าไปแสดงด้วย

ศูนย์ยื่นเอกสารวีซ่าของประเทศอังกฤษตั้งอยู่ที่ อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 2 เลขที่ 183 ถนนราชดำริ ลุมพินี กรุงเทพมหานคร 10330

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved

อัพเดทการใช้โทรศัพท์มือถือในอเมริกา


น้องตั้งส่งข้อความมาอัพเดทเรื่องบริการแบบใหม่ของมือถือในประเทศสหรัฐอเมริกา นั่นก็คือ บริการเติมเงินในมือถือจาก Straighttalk  ที่ไม่จำกัดจำนวนการโทรออกและการส่งข้อความ โดยคิดค่าบริการ 45 ดอลาร์สหรัฐต่อเดือน หากต้องการถูกกว่านี้ค่าบริการจะอยู่ที่ 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน แต่อาจจะถูกจำกัดเรื่องการโทรออกและการส่งข้อความ โปรดศึกษาค่าบริการได้ที่   http://www.straighttalk.com/ServicePlans

Straighttalk ใช้ network ของ AT&T นอกจากราคาค่าบริการจะถูกแล้วยังไม่ต้องทำสัญญา เหมาะกับผู้ที่เดินทางไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาช่วงสั้นๆ หรือเพิ่งไปอยู่ใหม่ๆ ใช้เล่นอินเทอร์เน็ต ดู map ได้ เล่น Facebook และ Twitter ได้ แต่ไม่แนะนำให้ load หนังมาดู ขอให้ตรวจสอบราคาค่าบริการก่อนใช้ Straighttalk สามารถหาซื้อได้ที่ร้าน Walmart เพราะ Walmart เป็นเจ้าของ Straighttalk

Straighttalk ใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟนเท่านั้น เช่น iPhone4, iPhone4S และ Nokia Lumia 900

ดังนั้น นักศึกษาที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โปรดศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ Straighttalk จากเว็บไซต์
หรือจะชมโฆษณาเกี่ยวกับ Straighttalk จาก YouTube ซึ่งมีหลายเวอร์ชั่นให้เลือกศึกษาเพื่อประกอบความเข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อใช้
ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในการให้เสรีภาพในการแข่งขันสูงกว่าอีกหลายประเทศ  น้องตั้งส่งข่าวมาว่า ” ตอนนี้พวกค่ายมือถือกำลังลดราคาแข่งกันเพราะ iphone มีหลายเจ้าแล้ว ไม่ได้มีแค่ at&t เช่น verizon, sprint, cricket และ t-mobile ตอนนี้ verizon กำลังปรับโปรใหม่หมดเพื่อสู้กับเจ้าอื่น ๆ ”  ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใดประเภทใดรวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีการประชาสัมพันธ์การใช้จากเมืองไทยก่อนที่นักศึกษาจะเดินทางไปใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อไปถึงสหรัฐอเมริกาแล้ว นักศึกษาอาจได้พบกับความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันอีกมากมาย ขอให้นักศึกษาใช้วิจารณญาณในการอ่านวิธีการใช้ และมีการตัดสินใจที่ดีในการเลือกใช้ หรือสอบถามผู้รู้ ผู้เคยใช้บริการในประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนการตัดสินใจเลือก

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved

เว็บไซต์ขอวีซ่าเข้าสหราชฮาณาจักร (1)


การขอวีซ่าเข้าสหราชอาณาจักร หากผู้ยื่นวีซ่าไม่ทราบว่าตนเองจะต้องใช้แบบฟอร์มวีซ่าประเภทอะไร หรือควรจะเริ่มตั้งต้นจากจุดไหนดี  ให้ผู้ที่ต้องการขอวีซ่าเริ่มต้นด้วยการเข้าไปศึกษารายละเอียดการขอวีซ่าด้วยตนเองที่เว็บไซต์ของ Home Office UK Border Agency http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/

ภายใต้หัวข้อ UK Visa and Renewals จะมีคำถามให้เลือกว่า Do I need a visa?  เช่น ถ้าเลือกว่า ต้องการขอวีซ่านักเรียน, ถือหนังสือเดินทางประเทศไทย และมีถิ่นฐานอยู่ที่ประเทศไทย จะมีคำอธิบายเกี่ยวกับประเภทของวีซ่านักเรียน Tier4 (General), Tier4 (Child), Student Visitor, Child Visitor, Prospective Student, Student Under the Old Immigration Rules จากเว็บไซต์ http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/visas-immigration/studying/ ในหน้าเว็บไซต์ดังกล่าวนี้ จะมีวิดีโอประกอบความเข้าใจเรื่องการขอวีซ่านักเรียนด้วย

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะกรอกแบบฟอร์มวีซ่าออนไลน์ ให้ผู้ยื่นขอวีซ่าเข้าไปอ่านข้อมูลทั่วไป (General Visa Information) เกี่ยวกับการขอวีซ่าภายใต้หัวข้อ Visa and Immigration ให้เข้าใจก่อนทำการลงมือกรอกแบบฟอร์มวีซ่าออนไลน์

สถานทูตอังกฤษได้กำหนดการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ยื่นขอวีซ่าทุกประเภทจากประเทศไทยกรอกแบบฟอร์มคำร้องการยื่นขอวีซ่าออนไลน์ได้เพียงอย่างเดียว โดยเข้าไปที่เว็บไซต์

http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/countries/online/?langname=null

หรือที่เว็บไซต์ (1)    http://www.visa4uk.fco.gov.uk/

หรือที่เว็บไซต์ (2)   https://apply.ukba.homeoffice.gov.uk/iapply.portal

ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ยื่นขอวีซ่าจะใช้หน้าเว็บไซต์แบบที่ 1 หรือ แบบที่ 2 เพราะทั้ง 2 เว็บไซต์ล้วนนำไปสู่หน้าแบบฟอร์มออนไลน์เหมือนๆกัน

ส่วนวิธีการนัดหมายออนไลน์ ผู้ยื่นขอวีซ่าสามารถเข้าไปเลือกวันนัดสัมภาษณ์ได้ก่อน โดยที่ยังไม่ได้กรอกแบบฟอร์มวีซ่า หรือ ยังกรอกแบบฟอร์มวีซ่าไม่เสร็จก็ได้ เว็บไซต์นัดวันสัมภาษณ์คือ

https://www.vfs.firm.in/th-apptsystem/appscheduling/appwelcome.aspx

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved

เว็บไซต์สนามบินทั่วโลก


ใกล้เวลาเปิดภาคการศึกษาใหม่ของว่าที่นักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะเตรียมตัวออกไปศึกษาต่อต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรป หรือแม้แต่ประเทศในแถบเอเซีย หลายคนอาจจะเคยเดินทางไปต่างประเทศกันมาบ้างแล้ว แต่บางคนก็ไม่เคยออกเดินทางไปต่างประเทศเลยแม้แต่ครั้งเดียว กลุ่มหลังมักจะมีความตื่นเต้น กลัว ไม่มั่นใจ หลากหลายอารมณ์มากกว่ากลุ่มแรก เพื่อลดความเครียดในเรื่องของผู้ที่ต้องเดินทางคนเดียว ขอให้ผู้เดินทางคนเดียวคิดง่ายๆว่า การเดินทางระหว่างช่วงเวลา 10-30 ชั่วโมงของแต่ละคนเป็นเพียงการเดินทางช่วงสั้นๆที่ในปัจจุบันโลกออนไลน์มีตัวช่วยมากมายที่จะใช้ค้นหาข้อมูลก่อนการเดินทาง หนทางข้างหน้าเมื่อเดินทางไปถึงสถานศึกษาแล้วต่างหากเป็นระยะทางที่ยาวไกลที่จะต้องฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อเรียนให้จบบรรลุวัตถุประสงค์ และนำความสำเร็จกลับมาสร้างอนาคตให้ตนเอง พร้อมทั้งนำความชื่นใจและภาคภูมิใจกลับมาให้ผู้ปกครอง

หลักการเบื้องต้นในการเดินทาง ไม่ว่าจะเดินทางไปยังประเทศใดก็ตาม มีดังนี้คือ

1. เตรียมเอกสารสำหรับให้เจ้าหน้าที่คนไทยตรวจที่ด่านขาออกนอกประเทศไทย นั่นก็คือที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งประกอบด้วย การตรวจเช็คกระเป๋า ไม่ควรมีของที่ไม่พึงประสงค์พกติดตัวเดินทาง อาทิ อาวุธ ของเหลว ฯลฯ  หลังจากนั้น จะต้องผ่านการตรวจประทับตราลงในหนังสือเดินทางว่า ผู้โดยสารออกจากประเทศไทยวันไหน ไปไหน ผู้เดินทางควรเตรียมให้พร้อม คือ หนังสือเดินทาง, e-ticket , จดหมายตอบรับจากสถานศึกษา (หากเจ้าหน้าที่จะขอดู), บัตรที่นั่งบนเครื่องที่ตรวจเช็คกับสายการบินแล้ว , ข้อมูลหมายเลขของประตูหรือ Gate ที่จะเดินไปขึ้นเครื่องบิน

2. ลองศึกษาเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสนามบินทั่วโลก ไม่จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดทั้งหมด ให้นักศึกษาลองศึกษาเฉพาะสนามบินที่จะต้องใช้บริการ, รหัสย่อชื่อสนามบิน, terminal ต่างๆ เป็นต้นว่า terminal ที่สายการบินที่มาจากต่างประเทศจะต้องไปลงจอดที่สนามบินแห่งนั้น, terminal ที่จะเป็นจุดที่ผู้โดยสารจะต้องไปขึ้นเครื่องบินสายภายในประเทศ หรือจุดต่อเครื่องบินลำถัดไปจากลำแรกที่นั่งออกจากประเทศไทย แผนผังสนามบินในแต่ละประเทศจะมีจุดหลักใหญ่ๆที่เหมือนๆกัน กล่าวคือ มีชั้นสำหรับผู้โดยสารขาออกอยู่ชั้นบน และชั้นสำหรับผู้โดยสารขาเข้าอยู่ชั้นล่าง ยกตัวอย่างเว็บไซต์

เมื่อคลิกเลือกประเทศสหรัฐอเมริกา ลองเลือกไปที่รัฐ California จะพบรายชื่อสนามบินมากมายหลายแห่งในรัฐ California 

เมื่อเลือกต่อไปที่แผนที่สนามบิน  Los Angeles International Airport จะพบข้อมูลที่น่าสนใจจนทำให้ผู้เดินทางอาจลืมความวิตกกังวลในการเดินทางคนเดียว เป็นต้นว่า มีเวลาที่เป็น real time ของ Los Angeles, อุณหภูมิ ณ เวลานั้น, สายการบินที่กำลังจะบินเข้าและออกที่สนามบิน Los Angeles ในเวลานั้น และโอกาสที่จะเกิดความล่าช้าในเที่ยวบินมีสูงหรือต่ำ

ถ้าต้องการเข้าไปที่เว็บไซต์ของสนามบินให้เลือกคลิกที่ IATA Code รหัสย่อสามตัวของแต่ละสนามบินที่เป็นอักษรสีน้ำเงิน จะได้เว็บไซต์ http://www.lawa.org/welcomeLAX.aspx

เมื่อเลือกหัวข้อ Maps จะมี Maps หลายประเภท เช่น วิธีการเดินทางไปสนามบิน LAX หรือแผนที่ในบริเวณสนามบิน สิ่งที่นักศึกษาที่จะต้องมีการต่อเที่ยวบินไปยังเมืองอื่นควรทราบคือ จะต้องเดินทางไปขึ้นเครื่องบินลำถัดไปอย่างไร จากแผนที่สนามบินจะทำให้นักศึกษาทราบว่า สายการบินภายในประเทศที่นักศึกษาจองไว้ชื่อสายการบินนี้ อาทิ เช่น American Airlines หลังจากนักศึกษาติดต่อฝากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ไว้กับเจ้าหน้าที่ทำเรื่อง Connect flight แล้วตรงบริเวณตรวจผู้โดยสารขาเข้า นักศึกษาจะต้องเดินทางต่อไปเพื่อไปขึ้นเครื่องบินลำถัดไปที่ Terminal 4 ที่ American Airlines มีสำนักงานตั้งอยู่ ในบริเวณ terminal 4 จะมีการแจ้งรายละเอียดเที่ยวบินที่จะบินไปยังเมืองต่างๆ ตามเวลาต่างๆว่าจะต้องไปขึ้นเครื่องที่ Gate ใด

http://www.lawa.org/uploadedFiles/LAX/pdf/LAX%20Airline%20Location%20201204.pdf

  • http://www.world-airport-codes.com/ เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่มีข้อมูลสนามบินจำนวน 9,477 แห่งทั่วโลก

เว็บไซต์นี้จะมีการจัดอันดับสนามบินที่มีจำนวนผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดในโลกไว้จำนวน 30 แห่ง สนามบินใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรจำนวน 10 แห่ง นักศึกษาสามารถเลือกที่จะเข้าไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสนามบินตามตัวอักษรตัวแรกของชื่อประเทศ , ตามตัวย่อของประเทศ , ตามรหัสประเทศ, ตามรหัสของสนามบิน, ตามชื่อสนามบิน หรือตามชื่อเมือง เป็นต้นว่า ตามอักษรตัวแรกของชื่อประเทศ เช่น ตัวอักษร U ประกอบด้วย ประเทศต่อไปนี้ คือ Uganda, Ukraine, United Arab Emirates, United Kingdom, United States, Uruguay, US Minor Outllying Islands, Uzbekistan

นักศึกษาคลิกไปยังชื่อสนามบินที่ต้องการข้อมูลก็จะเป็นหน้าตาเว็บไซต์ของสนามบินในเมืองนั้นๆ เว็บไซต์ World-Airport-Code มี ไอคอนมุมขวาบนที่เป็นตัวอักษรสีแดง Guide Network ซึ่งจะนำไปสู่ฟรีเว็บไซต์ในการค้นหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับประเทศอังกฤษ

เป็นต้นว่า นักศึกษาเลือกไอคอน Airport Guide จะได้เว็บไซต์ที่มีชื่อว่า http://www.airportguides.co.uk/

หากนักศึกษาได้มีการค้นหาข้อมูลเตรียมตัวก่อนการเดินทางให้พร้อม ข้อมูลต่างๆจะมีส่วนช่วยลดความตึงเครียดและความน่ากลัวระหว่างการเดินทางให้นักศึกษาไปได้ไม่มากก็น้อย

Copyright © 2010-2012 GoVisa All rights reserved