Monthly Archives: August 2011

รวบรวมงานนิทรรศการการศึกษาต่อต่างประเทศที่จะจัดขึ้นในช่วงปลายปี 2554


ช่วงปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน 2554 นี้ นักศึกษาที่กำลังวางแผนเตรียมตัวไปศึกษาต่อต่างประเทศจะมีโอกาสได้ชมงานนิทรรศการจากคณะผู้แทนมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆที่ทยอยกันมาเปิดบูธแนะนำสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในประเทศของตน เริ่มกันที่ปลายเดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป รายการนิทรรศการการศึกษาของประเทศต่างๆที่พอจะรวบรวมได้มีดังนี้คือ

  • นิทรรศการการศึกษาต่อประเทศออสเตรเลีย จัดโดย IDP ระหว่างวันเสาร์ที่ 27 และวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. http://www.thailand.idp.com/thailand/idp_education_thailand.aspx ปกติหน่วยงาน IDP จะจัดงานนิทรรศการไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลียทุกไตรมาส ในรอบ 1 ปี IDP จะจัดงานนิทรรศการประมาณ 3-4 ครั้ง หากใครที่พลาดเมื่อวันที่ 12-13 มีนาคม หรือ เมื่อวันที่ 11-12 มิถุนายน 2554 ให้รีบไปติดตามกันได้ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ปลายเดือนสิงหาคมนี้ ( งานนี้จัดวัน เวลา และสถานที่เดียวกันกับงาน JEDUCATION Fair )
  • นิทรรศการการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น (Japn Education Fair) จัดโดยหน่วยงานเอกชนชื่อ  JEducation Center ระหว่างวันเสาร์ที่ 27 และวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. เช่นเดียวกันกับงานนิทรรศการการศึกษาต่อประเทศออสเตรเลีย  ผู้ที่พลาดการชมงานเมื่อวันที่ 29-30 มกราคม 2554 ณ โรงแรมแกรนด์มิลเลนเนี่ยม สุขุมวิท สามารถไปติดตามชมงานกันได้อีกครั้งในวันหยุดสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมนี้ และในวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม เวลา 14.30 องค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม JETRO  จะมาบรรยาย เรื่อง ” ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบัน ณ ประทศญี่ปุ่น” ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.jeducation.com/go/j-activity.php
  • องค์กรสนับสนุนการศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม JASSO จะจัดงาน Japan Education Fair 2011 สำหรับหน่วยงานนี้จะจัดงานนิทรรศการการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นปีละครั้งเดียว ในปี 2554 จะจัดให้มีงานขึ้น 2 แห่ง คือ ที่เชียงใหม่ในวันศุกร์ที 2 กันยายน 2554 ระหว่างเวลา 10.00-17.00 น. ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง และในวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน ณ โรงแรมเอเซีย กรุงเทพมหานคร ระหว่างเวลา 10.00-17.00 น. ศึกษารายละเอียดมหาวิทยาลัยที่มาร่วมงานได้ที่ http://www.jeic-bangkok.org/?japan-education-fair,44
  • งาน MBA Tour 2011 งานนิทรรศการศึกษาต่อที่เหมาะสำหรับผู้สนใจเข้าศึกษาต่อวิชาบริหารธุรกิจในมหาวิทยาลัยระดับ Top ของโลก จะจัดให้มีขึ้นที่โรงแรมแชงกรีลา ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 ระหว่างเวลา 16.00-21.30 น. ศึกษารายละเอียดของรายการและชื่อมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมงานได้ที่เว็บไซต์   http://www.thembatour.com/events/bangkok.shtml#
  • สำนักงานทูตพาณิชย์ สถานทูตสหรัฐอเมริกาจะจัดให้มีงาน สัมมนา เรื่องระบบการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนในประเทศสหรัฐอเมริกา ณ สถาบันสอนภาษาเอยูเอ ถนนราชดำริ ในวันเสาร์ที่ 17 กันยายน ระหว่างเวลา 13.00-16.00 น. งานนี้ไม่มีบูธมหาวิทยาลัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมงาน เหมาะสำหรับผู้กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลายที่มีความต้องการไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยชุมชนจัดว่าเป็น Pathway ที่ประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองไปได้ 2 ปี ก่อนย้ายเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอีก 2 ปี เพื่อรับปริญญาตรี ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่   http://www.buyusa.gov/thailand/upcomingevent/usccs/index.asp (งานนี้จะจัดตรงกันทั้งวันเวลา และสถานที่กับงาน AEO Tour )
  • งาน U.S.Higher Education Fair ครั้งที่ 26 จัดโดย สถาบันการศึกษานานาชาติ (IIE/Bangkok) ในวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2554 ระหว่างเวลา 9.00-17.00 น. ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.iiethai.org/web/advising.php?subsection=2
  • งานมหกรรมการศึกษาเพื่ออนาคต ครั้งที่ 8 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือน (ก.พ.) ในวันเสาร์ที่ 29 และวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2554 ระหว่างเวลา 11.00-18.00 น. ในงานจะประกอบด้วยบูธจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก อาทิ ประเทศ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรอังกฤษ สหภาพยุโรป แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลี อินเดีย ฯลฯ โปรดติดตามการประชาสัมพันธ์งานจากเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ. http://www.ocsc.go.th อนึ่ง เว็บไซต์ของหน่วยงานแนะแนวการศึกษาบางประเทศได้ทยอยประกาศว่า จะเข้าร่วมงานนิทรรศการดังกล่าวกับสำนักงานก.พ. เช่น เว็บไซต์ Campus France   http://www.thailande.campusfrance.org/th/node/13794   เว็บไซต์ Nuffic (Netherlands Organisation for International Cooperation in Higher Education) http://www.nuffic.nl/home/news-events/upcoming-events
  • งาน UK Secondary School คาดว่า British Council จะจัดให้มีขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่ 4 และวันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน ที่กรุงเทพมหานคร โปรดติดตามรายละเอียดจากเว็บไซต์ British Council  http://www.britishcouncil.org/eumd-exhibitions-thailand.htm
  • งาน Boarding School Fair (TABS) 2011 เหมาะสำหรับผู้สนใจไปศึกษาต่อโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกา งานนี้จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2011 ณ โรงแรมเวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท ระหว่างเวลา 13.30-16.30 น. ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.boardingschools.com/find-a-school/explore-your-options/asia-fairs.aspx

Copyright © 2010-2011 GoVisa All rights reserved.

รวบรวมคำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับประกันสุขภาพ


นักศึกษาที่ยังไม่ได้ทำประกันสุขภาพ หากยังพอมีเวลา กล่าวคือ ยังไม่ได้เดินทางเข้าไปในสหรัฐอเมริกา น่าจะได้ลองใช้เวลาว่างศึกษาเว็บไซต์ของบางสถานศึกษาเป็นกรณีศึกษาว่า การประกันสุขภาพจะให้ผลดีกับนักศึกษาอย่างไร ในยามเจ็บป่วยต้องไปพบแพทย์ ซึ่งแน่นอนที่สุด นักศึกษาคงต้องพยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรงดีที่สุด เพราะแม้จะมีประกันสุขภาพก็ตาม นักศึกษาก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย เช่น ค่าพบแพทย์ ค่ายา เป็นต้น และถึงแม้ว่า จะได้ทำประกันสุขภาพไปแล้ว ไม่ว่าจะเลือกทำกับบริษัทที่มีเงื่อนไขตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ หรือเลือกทำกับบริษัทประกันสุขภาพอื่นข้างนอกเอง การได้อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ประกันสุขภาพไว้น่าจะเป็นประโยชน์ในเรื่องของการรักษาสิทธิของนักศึกษา อย่างไรก็ตาม บล็อกนี้ พยายามรวบรวมคำศัพท์จากหลายๆแหล่งข้อมูลไว้ให้กรณีนักศึกษาพบข้อติดขัดบางประการ ในการที่จะทำเข้าใจกับความหมายของการประกันสุขภาพ นอกเหนือไปจากนี้ผู้ที่จะให้คำแนะนำนักศึกษาได้ดี คือ  International Student Officer รุ่นพี่คนไทยในมหาวิทยาลัยเดียวกันกับที่นักศึกษาศึกษาอยู่ หรือเพื่อนๆก็มีส่วนช่วยได้ มีนักศึกษาบางท่าน เวลากลับมาเยี่ยมบ้านที่เมืองไทยจะไปพบแพทย์เพื่อขอตรวจสุขภาพ หรือฉีดวัคซีนต่างๆ เพราะนักศึกษาเหล่านั้นทราบแล้วว่า ค่ารักษาพยาบาลในสหรัฐอเมริกามีราคาแพง เป็นต้นว่า ค่าไปพบแพทย์ตกประมาณ 100 เหรียญ เป็นต้น ทั้งนี้คงเป็นอัตราค่าบริการของบางรัฐไม่ใช่ทุกรัฐ
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่น่าจะเข้าไปศึกษาเช่น

2.  http://www.ciee.org/insurance/downloads/DMB.pdf

3. http://healthcenter.uoregon.edu/insurance/International_benefits.html

4. http://www.indiana.edu/~gpso/health-insurance-glossary-and-faq.php

ดังนั้น เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่รับนักศึกษาเข้าไปเรียนจึงจัดเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดที่จะค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ การเข้ารับบริการ การขอเงินประกันคืน การต่ออายุ การยกเลิก และอื่นๆ ของการประกันสุขภาพที่นักศึกษาควรทราบ นักศึกษาคงต้องตระหนักว่า การมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองให้ดีที่สุดย่อมเป็นประโยชน์ยามอยู่ห่างไกลจากผู้ปกครองในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม หากประสบปัญหาในการทำความเข้าใจภาษาอังกฤษ เว็บไซต์ของคนไทยที่เป็นที่พึ่งนักศึกษาได้คือ เว็บไซต์สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนไทยในประเทศที่นักศึกษาไปศึกาาอยู่ เช่น เว็บไซต์ผู้ดูแลนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกา  http://www.oeadc.org/scholars/FAQ/FAQHealthIns?force_toc:int=1  นอกจากนี้ยังมีเว็บไซตือื่นของหน่วยงานในไเมืองไทย เช่น

1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและประกอบธุรกิจประกันภัย (ศปภ)    http://www.oic.or.th/th/vocab-insur/a-1.htm

2. สมาคมประกันชีวิตไทย  http://www.tlaa.org/www/th/glossary/?faq_g=21

3. ไทยอินชัวร์เรอส์ดาต้าเนท จำกัด http://www.insure.co.th/index.php/ins-word/life-word

รวบรวมคำศัพท์บางคำที่ควรรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆข้างต้น มีดังนี้คือ

คำศัพท์ ความหมาย
accident อุบัติเหตุ
actual charge ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
accelerated endowment การ ที่ผู้เอาประกันชีวิตขอใช้สิทธิ์นำเงินปันผลที่สะสมได้มารวมกับค่าเวนคืน ซึ่งมีจำนวนจำกัดหรือมากกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัย เพื่อขอรับเงินเอาประกันภัยก่อนสัญญาครบกำหนด
addendum เอกสารเพิ่มเติมในสัญญา
agent ตัวแทน
aggregate maximum ผลประโยชน์รวมทั้งหมด
application form คำขอเอาประกัน
assured ผู้เอาประกันภัย
assurer ผู้รับประกันภัย
attained age อายุในขณะที่ทำการประกัน หรือขอเปลี่ยนแบบกรมธรรม์
the beneficiary ผู้รับประโยชน์
bonus เงินปันผล
brand-name prescription drug or medicine ใบสั่งยาที่มีชื่อหรือมียี่ห้อ
certificate of prior credible coverage หนังสือรับรองการมีประกันสุขภาพกับบริษัทที่ได้มาตราฐานสากล
claim amount ค่าสินไหมทดแทน
co-insurance , co-assurance ค่าใช้จ่ายสมทบที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบชำระให้แพทย์ซึ่งผู้เอาประกันอาจจะอยู่ในลักษณะคนไข้นอก หรือ คนไข้ในแล้วแต่กรณี ส่วนใหญ่กำหนดเป็นอัตราเปอร์เซนต์ของค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด เช่น 20/80 % ของจำนวนค่ายาที่ไม่เกิน 10,000 เหรียญ หมายความว่า ผู้ป่วยจ่ายเอง 2,000 เหรียญ บริษัทประกันจ่าย 8,000 เหรียญ สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่ไม่เกินกว่า 10,000 เหรียญ หรือ อีกประเภทหนึ่ง 10/90 % ของจำนวนค่ารักษาพยาบาลตั้งแต่ 10,001-20,000 เหรียญ กล่าวคือ ผู้ป่วยจ่ายเพิ่มอีก 105 ของค่ารักษาพยาบาลที่เกินกว่า 10,000 เหรียญขึ้นไป) และ 100% ของค่ารักษาพยาบาลที่เกินกว่า 20,001 คือ บริษัทประกันภัยจ่ายให้เต็ม หากค่ารักษาพยาลเกินกว่า 20,000 เหรียญขึ้นไป ขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันซื้อไว้
concealment การปกปิดความจริง
consideration ค่าต่างตอบแทน เช่น ผู้เอาประกันจ่ายเบี้ยประกัน ผู้รับประกันชดใช้เงินเมื่อเกิดหุการณ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
constant premium เบี้ยประกันคงที่ไม่แปรผันตามเวลา
copay ค่าใช้จ่ายสมทบที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบชำระให้แพทย์ หรือร้านขายยา อาจจะเป็นจำนวนเงินต่อครั้ง จำนวนรวมต่อปี หรือไม่มีเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยซื้อ เช่น การพบแพทย์ บางที่จ่าย 10,15 หรือ 20 เหรียญ , ค่ายาตามคำสั่งแพทย์อาจจะเป็น 5,10,15 หรือ 20 เหรียญต่อครั้งหรือต่อประเภทของยาว่าเป็นยาที่มีหรือไม่มียี่ห้อ
covered medical expenses ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล
covered person ครอบคลุมบุคคลเอาประกัน
death benefit ผลประโยชน์เมื่อถึงแก่กรรม
deductible ค่าเสียหายส่วนแรก หรือจำนวนเงินขั้นต้นที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบจ่ายต่อแพทย์หรือสถานพยาบาลโดยตรงก่อนที่บริษัทประกันจะจ่ายส่วนที่เกินให้ต่อไป จำนวนเงินในส่วนที่เป็น deductible แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ เช่นหากกรมธรรม์กำหนด deductible ไว้ที่ 250 เหรียญต่อปี เมื่อนักศึกษาป่วยไปพบแพทย์เป็นครั้งแรกของปีประกันนั้นๆ นักศึกษาต้องจ่ายค่ารักษาเองจนกว่าจะครบ 250 เหรียญ เมื่อนักศึกษาเจ็บป่วยครั้งต่อๆไปก็ไม่ต้องจ่ายค่า deductible อีก
deferred period ระยะรอรับผลประโยชน์ที่กำหนดระยะเวลาดังกล่าวนับตั้งแต่เกิดทุพพลภาพจะต้องผ่านพ้นไปก่อน จึงจะจ่ายเงินผลประโยชน์ให้
disability benefit ผลประโยชน์เพื่อทุพพลภาพ
disablement benefit เงินจ่ายชดเชยตามกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุบุคคล ประกันความเจ็บป่วย หรือประกันสุขภาพเนื่องจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้เต็มที่ หรือบางส่วน ภายในระยะเวลาที่กำหนด
disclosure เปิดเผยความจริง
double indemnity การชดใช้สองเท่า
double insurance การประกันภัยซ้ำซ้อนที่มากกว่า 1 บริษัท
durable medical and surgical equipment อุปกรณ์ทางการแพทย์และศัลยกรรมที่มีความทนทาน สามารถใช้ในการรักษาพยาบาลและมีหาไว้ใช้ประจำในที่พักอาศัยได้
Elective treatment การรักษาพยาบาลประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากวันแรกของการมีผลคุ้มครองการมีประกัน เช่น การลดน้ำหนัก การรักษาโรคบกพร่องทางการเรียนรู้  การฉีดวัคซีนชนิดต่างๆ การรักษาโรคภาวะมีบุตรยาก หรือการตรวจร่างกายประจำปี ฯลฯ
emergency กรณีเหตุฉุกเฉิน
emergency medical condition สภาวะทางการแพทย์ฉุกเฉินที่ผู้เจ็บป่วยมีอาการความเจ็บปวดอย่างรุนแรง
explanation of benefit (EOB) แบบรายงานชี้แจงการจ่ายค่ารักษาพยาบาลของบริษัทประกันสุขภาพส่งให้ผู้ป่วย หรือ สถานพยาบาลทราบว่า บริษัทประกันสุขภาพได้รับแบบ claim การรักษาพยาบาลและดำเนินการให้แล้ว ในแบบฟอร์ม EOB จะมีรายละเอียดวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา รายการที่ได้รับการรักษา จำนวนค่ารักษาพยาบาลในแต่ละรายการซึ่งอาจมีส่วนที่เป็น deductible และ/หรือส่วนที่ประกันสุขภาพไม่จ่ายหรือไม่ครอบคลุม (exclusion) ซึ่งจะให้รายละเอียดของสาเหตุที่ไม่จ่ายเต็มจำนวนในบางรายการให้ผู้ป่วยหรือแพทย์ หรือสถานพยาบาลได้รับทราบ พร้อมทั้งรายละเอียดเลขที่เช็ค และจำนวนเงินที่บริษัทประกันจ่ายคืนไปยังแพทย์ หรือสถานพยาบาล หรือผู้ป่วย (หากผู้ป่วยจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปแล้วล่วงหน้า) หากมีจำนวนค่ารักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบเอง ผู้ป่วยจะได้ดำเนินการจ่ายยอดคงค้างไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลโดยตรงต่อไป
evidence of health ใบรับรองสุขภาพ
exclusion ส่วนที่ประกันสุขภาพไม่ครอบคลุมการรักษา ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาพยาบาลคืนให้แพทย์ หรือ สถานพยาบาลโดยตรงเอง
forfeiture การสูญเสียสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย
generic prescription drug or medicine ยาตามใบสั่งแพทย์ เช่น ผู้ประกันสุขภาพในระบบกลางจะจ่ายค่ายาธรรมที่ไม่มียี่ห้อ (generic) ในอัตรา 10 เหรียญต่อประเภทยาและต่อครั้ง
grace period ระยะเวลาผ่อนผัน
group life insurance การประกันชีวิตประเภทกลุ่ม
health insurance การประกันสุขภาพ
hospital and medical expenses insurance การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและค่าโรงพยาบาล
hospital cash insurance การประกันภัยค่ารักษาพยาบาลแบบเงินสด โดยผู้รับประกันจะจ่ายเงินให้ผู้เอาประกันที่เป็นคนไข้ของโรงพยาบาลตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ โดยไม่คำนึงว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะมากน้อยเพียงใด
incurred but not reported (I.B.N.R.) เกิดแล้วยังไม่รายงาน
injury การบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุรวมถึงอาการกำเริบจากการบาดเจ็บดังกล่าว
in-network สถานพยาบาลในระบบ ค้นหาชื่อ แพทย์ สถานพยาบาลหรือร้านขายยาที่อยู่ในระบบได้จากเว็บไซต์ของบริษัทที่เลือกซื้อประกันสุขภาพ หากไม่สามารถพบแพทย์หรือสถานพยาบาลที่อยู่ในระบบภายในรัศมี 25 หรือ 30 ไมล์ (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทประกันสุขภาพ) จากที่อยู่ของตน สามารถหาชื่อแพทย์ หรือสถานพยาบาลใดก็ได้ที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบ
Installment  premium เบี้ยประกันภัยผ่อนชำระ
the insured ผู้เอาประกันภัย
the insurer ผู้รับประกันภัย
in patient ผู้ป่วยไข้ใน
lapse ขาดอายุ
limit ขีดจำกัด ความรับผิดสูงสุดของผู้รับประกันภัยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันภัย
loss of limb การสูญเสียอวัยวะ แขนขา
medically necessary ที่จำเป็นทางการแพทย์
morbidity table ตารางแสดงความร้ายแรงของโรคต่างๆ
negotiated charge ค่าใช้จ่ายสูงสุดที่สถานพยาบาลตกลงที่จะให้บริการเพื่อประโยชน์ของผู้เอาประกัน
non-medical insurance การประกันชีวิตโดยไม่ตรวจสุขภาพ
non-preferred care แพทย์ หรือ พยาบาลนอกระบบ
non-preferred care provider(non-preferred provider) แพทย์ หรือ สถานพยาบาลนอกระบบ
non-preferred pharmacy เภสัชกร หรือ ร้านขายยานอกระบบ ที่ไม่ได้จ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ตามข้อกำหนด
out of network แพทย์ หรือ สถานพยาบาลนอกระบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนที่เรียกว่า deductible, copay หรือ coinsurance ในส่วนที่มากขึ้นกว่าการไปเข้ารับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลในระบบ (in network) เช่น อาจจะมีค่า deductible 250 เหรียญ ยกเว้นกรณีที่เป็นเหตุฉุกเฉินเมื่อเข้าไปรักษาในสถานพยาบาลนอกระบบ อาจได้รับการยกเว้นส่วนที่เป็น deductible
Over counter drugs ร้านขายยา
Partial disablement ทุพพลภาพบางส่วน
Permanent disablement ทุพพลภาพถาวร
Permanent health insurance การประกันสุขภาพแบบถาวร
pharmacy ร้านขายยา
physician แพทย์ที่มี licensed ประจำรัฐนั้นๆ หรือ practitioner ที่ได้รับการยอมรับทางกฎหมายว่าสามารถให้การรักษาพยาบาลเยี่ยงแพทย์ได้
policy กรมธรรม์
Pre-certification for non-emergency inpatient admission ระเบียบของบริษัทประกันสุขภาพที่กำหนดให้ผุ้ป่วยที่แพทย์ หรือ สถานพยาบาลให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยไข้ใน ทั้งนี้ผู้ป่วย และ/หรือสถานพยาบาลต้องแจ้งให้บริษัทประกันทราบล่วงหน้าก่อนผู้ป่วยจะไปเข้ารับการรักษาอย่างน้อย 3-5 วันเพื่อขอ Pre-Authorization จากบริษัทประกันฯเพื่อบริษัทประกันนจะได้มีโอกาสสอบถามแพทย์หรือสถานพยาบาลถึงขั้นตอนการรักษา ซึ่งอาจมีทางเลือกของการรักษาได้หลายทางขึ้นอยู่กับความเร่งด่วน หรือความจำเป็น แล้วแต่กรณีโดยแพทย์หรือสถานพยาบาลจะให้รายละเอียดและเหตุผลเพิ่มเติมว่าทำไมถึงเลือกวิธีการรักษาเฉพาะทางนั้นๆ กรณีที่นักศึกษาไม่ได้แจ้งให้บริษัทประกันฯทราบเพื่อขอ Pre-Authorization ก่อนเข้ารับการรักษา นักศึกษาอาจมีค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบเองเพิ่มเติม นอกเหนือจาก deductible, copay และ coinsurance ของค่ารักษาพยาบาลตามกำหนดของกรมธรรม์
Pre-existing condition อาการเจ็บป่วยที่มีอยู่ก่อนการทำประกันสุขภาพ
Preferred care แพทย์หรือสถานพยาบาลในระบบ
Preferred care provider( preferred provider) แพทย์หรือสถานพยาบาลในระบบ
Preferred pharmacy เภสัชกรในระบบ
premium เบี้ยประกันภัย
Prescription ใบสั่งยาตามแพทย์สั่ง
Proof of coverage letter หนังสือรับรองการมีประกันสุขภาพ
Reasonable charge ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
registration การสมัคร
renewal การต่ออายุ
Return commission ค่าบำเหน็จจ่ายคืนเมื่อมีการยกเลิกกรมธรรม์
Routine physical exam การตรวจร่างกายทั่วไปประจำปี
sickness โรคต่างๆ หรือ อาการเจ็บป่วย หรือ การตั้งครรภ์
Single premium เบี้ยประกันภัยชำระเพียงครั้งเดียว
Social security number เลขบัตรประกันสังคม
Sum insured ทุนประกัน หรือจำนวนเงินเอาประกัน
Temporary disablement ทุพพลภาพชั่วคราว
Total disablement ทุพพลภาพสิ้นเชิง
Utmost good faith ความสุจริตใจอย่างยิ่ง ผู้เสนอขอเอาประกันภัยต้องเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ เพื่อเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจของผู้รับประกันภัยว่า จะรับประกันภัยหรือไม่ และหากรับประกันภัยจะมีเงื่อนไขอย่างไร
Waiting period ช่วงระยะเวลารอคอย เช่นกรมธรรม์สถานศึกษากำหนด waiting period ไว้ 6 เดือนหากนักศึกษาเริ่มป่วยวันที่15 มิถุนายนและแพทย์กำหนดให้นักศึกษาไปตรวจปลการรักษาทุก 6 เดือนเป็นเวลาอีก 6 เดือน หาคภาคการศึกษาใหม่เปิดเรียนวันที่ 1 กันยายนและนักศึกษาเริ่มมีประกันกับสถานศึกษาตั้งแต่วันเปิดภาคเรียน ค่ารักษาพยาบาลข้างต้นนักศึกษาจะไม่สามารถส่งไปเบิกคืนจากบริษัทประกันสุขภาพได้จนกว่าจะล่วงเลยกำหนด 6 เดือนนับจากวันที่เริ่มป่วย ดังนั้น นักศึกษาจะต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเองตั้งแต่วันที่เริ่มป่วยคือวันที่ 15 มิถุนายนถึงวันที่ 14 ธันวาคม ถึงแม้ว่า นักศึกษาจะเริ่มมีประกันของสถานศึกษาในวันที่ 1 กันยายนก็ตามในช่วงย้ายสถานศึกษาก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดสูญญากาศของการประกัน เนื่องจากสถานศึกษาแต่ละแห่งเปิดและปิดภาคการศึกษาไม่พร้อมกัน เช่น สถานศึกษาเดิมทำประกันสุขภาพให้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม แต่สถานศึกษาใหม่เริ่มเปิดภาคและทำประกันให้นักศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน หากนักศึกษาเจ็บป่วยในระหว่าง เดือนสิงหาคม นักศึกษาต้องรับผิดชอบจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง เนื่องจากไม่มีประกันสุขภาพในช่วงนั้น
Waiver of premium Disability benefit การยกเว้นเบี้ยประกันเพราะทุพพลภาพ
Weight and height table ตารางน้ำหนักและส่วนสูง
Written premium จำนวนเบี้ยประกันภัยทุกประเภทที่บริษัทประกันชีวิตได้รับ
Willful misconduct ความประพฤติผิดโดยจงใจ

Copyright © 2010-2011 GoVisa All rights reserved

.

การมีใบขับขี่ในสหรัฐอเมริกา


นักศึกษาไทยที่ไปศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา หากไม่ได้เลือกมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีการคมนาคมหลากหลายประเภท การมีรถยนต์ส่วนตัวนับเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะแต่ละสถานที่มักอยู่ห่างไกลกัน การใช้รถประจำทางไม่สะดวกสบายเหมือนอย่างที่นักศึกษาตั้งความคาดหวังไว้ก่อนหน้าเดินทาง บางเมืองใช้เวลารอรถประจำทางสายเดียวกันครั้งละครึ่งชั่วโมง บางเมือง 45 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมงก็มี ผู้ที่มีธุระเร่งร้อนอาจเดินทางไปถึงสถานที่นั้นๆไม่ทันตามเวลานัดหมาย เมื่อต้องการมีรถยนต์ส่วนตัวไว้ใช้เองก็จำเป็นต้องสอบใบขับขี่ในสหรัฐอเมริกา จะใช้ใบขับขี่สากลตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกาไม่ได้

การสอบใบขับขี่ในสหรัฐอเมริกาจะประกอบด้วยการสอบข้อเขียน (Written test) และสอบภาคปฏิบัติ (Drive Test) เหมือนประเทศอื่นๆ ในการสอบข้อเขียน บางรัฐกำหนดไว้ว่า ให้ทำผิดในการสอบข้อเขียนได้ไม่เกิน 3 ข้อ และสอบข้อเขียนได้ไม่เกิน 3 ครั้งติดต่อกัน กรณีสอบข้อเขียนครั้งแรกไม่ผ่าน เมื่อสอบข้อเขียนผ่านจะได้รับ Instruction Permit หรือ Temps บางแห่งเรียก Learner’s Permit ซึ่งจะใช้ขับรถได้ก็ต่อเมื่อมีคนที่ได้รับใบขับขี่โดยสมบูรณ์หรือ Driver License นั่งไปด้วยข้างๆ หรือ บางแห่งกำหนดว่า ต้องมีคนที่ขับรถได้และมีใบขับขี่อายุ 25 ปีขึ้นไปนั่งไปด้วยข้างๆ ห้ามคนที่นั่งไปด้วยข้างๆเป็นคนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี เพราะผิดกฎหมาย เมื่อผู้ที่มี Instruction Permit สอบภาคปฏิบัติผ่านจึงจะได้รับ Temporary Driver License ก่อน แต่บางรัฐอาจจะได้รับ Driver License เลย  เช่นเดียวกับการสอบข้อเขียน บางรัฐกำหนดให้สอบแก้ตัวภาคปฏิบัติที่สอบครั้งแรกไม่ผ่าน โดยให้สอบครั้งที่ 2 ได้ หากการสอบภาคปฏิบัติไม่ผ่านทั้ง 2 ครั้ง ต้องสอบข้อเขียนใหม่ เป็นต้น

ขอแนะนำ Power Point ที่ใช้คำอธิบายไม่ยาก พร้อมทั้งมีภาพประกอบและมีการสอนเป็นขั้นตอนชัดเจน ทำให้นักศึกษาที่เพิ่งผ่านมัธยมศึกษาตอนปลายและกำลังเข้าศึกษาระดับ Associate Degreeที่ Santa Monica College เข้าใจได้ง่ายๆ

http://www.smc.edu/EnrollmentDevelopment/IEC/Documents/How-To._Workshops/Apply_for_a_CA_Drivers_License.pdf

นักศึกษาผู้ถือวีซ่า F,M, หรือ J ที่จะสมัครสอบใบขับขี่สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.educationusa.info/files/203841a1-cc13-440c-d90d-6945f111f384/Applying%20for%20a%20Drivers%20License%20or%20State%20ID%20card.pdf

ซึ่งกล่าวไว้พอสรุปได้ดังนี้ คือ

1. ในตอนกรอกแบบฟอร์มขอสอบข้อเขียน นักศึกษาจะต้องมีระยะเวลาที่ยังคงเป็นนักศึกษาอยู่ หรือ หมายเลข Sevis I-901 ของนักศึกษายังมีอายุการใช้งานได้อยู่ ในบางรัฐระบุว่า นักศึกษาต้องเหลือระยะเวลาที่ยังคงเป็นนักศึกษาอยู่อีกอย่างน้อย 6 เดือน

2. นักศึกษาต้องติดต่อหน่วยงานของสถานศึกษาที่ตอบรับนักศึกษาเข้าเรียน Designated School Officials (DSOs) หรือ ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง (Responsible Officers-ROs)เพื่อขอคำแนะนำหรือความช่วยเหลือในการติดต่อกับ Department of Motor Vehicles (DMV) ในรัฐนั้นๆ

3. นักศึกษาต้องรอให้เดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาไปแล้วเป็นเวลา 10 วันจึงจะขอสอบใบขับขี่ได้ และจะต้องมั่นใจว่า รายละเอียดชื่อ นามสกุลใน Sevis Number, สถานภาพนักศึกษา , วันเดือนปีเกิด ของนักศึกษาถูกต้องตรงกันกับเอกสารอื่นๆ อาทิ

  • หนังสือเดินทาง
  • ฟอร์ม I-94
  • I-20
  • I-766 ” Employent Authorization Document”(EAD ถ้ามี)
  • I-797 ” Notice of Action (ถ้ามี)”
  • Social Security Number(กรณีไม่มี SSN ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ของ SSA ( Social Security Administration หรือ Department of Transportation Office) เพื่อขอจดหมายรับรองประเภท Certification of Non-Eligibility of SSN จาก SSA
  • DMV บางรัฐ ขอดูใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าโทรศัพท์ที่มีชื่อนักศึกษาอยู่บนใบเสร็จ, สัญญาเช่าที่พักที่มีชื่อนักศึกษาอยู่, จดหมายรับรองฐานะการเงินจากธนาคารที่ส่งไปยังที่พักของนักศึกษา เป็นต้น

4. หากรายละเอียดเรื่องชื่อ นามสกุลไม่ตรงกัน ให้ศึกษาเพิ่มเติมวิธีการแก้ไขปัญหาจากเว็บไซต์ข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว หรือ ปรึกษาเจ้าหน้าที่ดูแลนักศึกษาต่างชาติของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ( International Student Officer)

5. นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นที่ DMV หรือ DPS ที่ใกล้ที่สุด  เพื่อขอสอบข้อเขียน Instruction Permit กรอกแบบฟอร์ม กับเจ้าหน้าที่ จ่ายเงินค่าสอบ หลังจากนั้น ทดสอบสายตาโดยให้มองผ่านกล้อง binocular ว่า สามารถเห็นแสง หรืออ่านตัวอักษรบางตัวอักษรได้ไหม อาจกล่าวได้ว่า เป็นการทดสอบว่าสายตาสั้นใส่แว่นไหม ถ้าต้องใส่แว่น จะมีคำว่า Restrictions หรือ Corrective lenses บนใบขับขี่ด้วย

6. การสอบข้อเขียนอาจจะเป็นการให้ทำข้อสอบบนกระดาษ หรือในคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับเครื่องไม้เครื่องมือที่แต่ละรัฐจะมีจัดไว้ให้

7. ถ้าสอบข้อเขียนผ่าน นักศึกษาจะได้ Instruction Permit หรือ Learners Permit ที่จัดส่งไปให้ที่บ้านภายใน 14 วันหลังสอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐ ถ้าสอบไม่ผ่าน สอบใหม่ได้ในวันเดียวกัน ให้สอบถามจากเจ้าหน้าที่ ถ้ายังทำไม่ได้อีก สามารถสอบใหม่ได้ในวันรุ่งขึ้น หรือสัปดาห์ถัดไป

8. ในปัจจุบันเว็บไซต์ของ DMV หลายๆแห่งจะมีการให้ download กฎจราจร หรือ ตัวอย่างข้อสอบพร้อมเฉลยไว้ให้ศึกษา ตัวอย่าง DMVที่รับ California  http://dmv.ca.gov/pubs/interactive/tdrive/exam.htm  DMV ของบางเมือง เช่น Los Angeles จะมีข้อสอบที่แปลเป็นภาษาไทยด้วย สำหรับจำนวนข้อสอบมีแตกต่างกันไป บางรัฐมี 25 ข้อ บางรัฐมี 36 ข้อ เป็นต้น

หมายเหตุ ในบางรัฐการสมัครสอบข้อเขียนอนุญาตให้ทำการนัดสอบออนไลน์ไปที่ DMV ได้ เพราะมีผู้มาสมัครสอบหนาแน่นและมีเจ้าหน้าที่จำนวนน้อย  เช่น การสอบใบขับขี่ในรัฐ California ค่าสมัครสอบข้อเขียนในรัฐ California ประมาณ 31 ดอลลาร์สหรัฐ (ราคา ณ เดือนมิถุนายน 2555) ผู้สอบจะทราบผลในวันเดียวกับที่สอบว่า สอบผ่านหรือสอบไม่ผ่าน

ตัวอย่างเว็บไซต์  DMV ที่เมือง Los Angeles http://www.dmv.ca.gov/dl/dl_info.htm#2500  อนึ่ง รัฐต่างๆจะไม่อนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติสอบใบขับขี่ได้ กรณีนักศึกษาต่างชาติเหลือระยะเวลาอีกเล็กน้อยที่จะเดินทางกลับประเทศของตนเองหลังจบการศึกษา เช่น เว็บไซต์ของ Duke University  http://www.studentaffairs.duke.edu/ihouse/nc-drivers-license-and-lessons   

เมื่อสอบข้อเขียนผ่านไปได้ บางเมืองมีกฎว่า ต้องเพักไว้นาน 30 วันจึงจะสมัครสอบ Drive Test หรือบางแห่งใช้คำว่า Road Test ได้เช่นเดียวกัน เว็บไซต์มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกามักจะมีคำชี้แจงเรื่องการสอบทั้งข้อเขียนและปฏิบัติ เช่นเว็บไซต์ University of Michigan http://internationalcenter.umich.edu/life/license.html จากเว็บดังกล่าวมีคำอธิบายเพิ่มเติมว่า หากนักศึกษาเคยมีใบขับขี่แล้วในประเทศของตนเอง ให้แปลใบขับขี่นั้นเป็นภาษาอังกฤษ รายละเอียดการแปลศึกษาเพิ่มเติมที่  http://www.michigan.gov/documents/Translators_Resource_List_95124_7.pdf  ผู้มีใบแปลใบขับขี่จากในประเทศของตน ก็จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องรอให้ครบ 30 วันจึงจะสอบภาคปฏิบัติได้  ดังนั้น นักศึกษาควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่ International Student Officer เป็นกรณีๆไป เพราะกฎเกณฑ์แต่ละรัฐแตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อย เมื่อนักศึกษาจะสอบ Drive Test ให้นักศึกษาเตรียมตัวดังนี้ คือ

1. download คู่มือการสอบ Drive test จาก DMV หรือจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย (ถ้ามี) เช่น ของ University of Michigan ระบุว่า การสอบ Drive test หรือ Road Test ใช้เวลา 45 นาที ถึง 1ชั่วโมง 15 นาที บางรัฐอาจใช้เวลาน้อยกว่านี้ เช่น ใช้เวลา 20 นาที   http://www.michigan.gov/documents/ROAD_SKILLS_TEST_STUDY_GUIDE_05-02_21935_7.pdf

เว็บไซต์นี้จะมีแบบฝึกหัดและข้อสอบที่ผู้สอบควรทราบว่า การสอบจะเน้นให้ผู้สอบเรียนรู้การขับประเภทใดบ้าง เพื่อให้สอบผ่านภาคปฏิบัติ นักศึกษาสามารถนำไปลองศึกษาดูเป็นกรณีศึกษาได้ หรือจะค้นหาจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่ก็ได้

2. ฝึกซ้อมการหัดขับรถประมาณ 2-3 สัปดาห์ จนมั่นใจว่า มีความพร้อมที่จะไปสอบ เช่น หัดขับในลักษณะต่างๆ อาทิ ขับเข้าที่จอดรถ ขับขึ้นเขา ลงเขา จอดรถ การเปลี่ยนเลน การจำกัดความเร็วในการขับรถ การหยุด ณ ป้าย Stop sign ฯลฯ นักศึกษาอาจเป็นคนจัดตารางสอบล่วงหน้า หรือ walk-in เข้าไปที่ DMV เพื่อสอบในตอนเช้าเลย ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎระเบียบแต่ละรัฐ ไม่เหมือนกัน

3. เมื่อสอบขับผ่านแล้ว จะได้รับใบขับขี่เลย หรือบางรัฐใช้วิธีการจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ ถ้าสอบไม่ผ่าน สามารถเตรียมตัวสอบใหม่ได้อีกภายในหนึ่งสัปดาห์ เมื่อนักศึกษาได้รับใบขับขี่แล้ว นักศึกษาสามารถใช้ใบขับขี่เป็นเหมือนบัตรแสดงตน( Identification Card )ได้อีกด้วย

แนะนำเว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัย คือ

Copyright © 2010-2011 GoVisa All rights reserved.

งาน JAPAN Education Fair กันยายน 2554


องค์การสนับสนุนนักศึกษาญี่ปุ่น หรือ JASSO  เป็นหน่วยงานอิสะของประเทศญี่ปุ่น มีหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้อง ทุนการศึกษา ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น JASSO กรุงเทพจะตั้งอยู่ที่ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร

และJASSO เชียงใหม่จะตั้งอยู่ที่ 3/3 ตำบลสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง

JASSO จะจัดให้มีงานนิทรรศการขึ้นปีละ 1 ครั้งทั้งที่กรุงเทพและเชียงใหม่  http://www.jeic-bangkok.org/?japan-education-fair,44   ในงานจะมีมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งโรงเรียนสอนภาษาและหน่วยงานต่างๆมาร่วมให้ข้อมูลแก่ผู้สนใจไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น การบรรยายเรื่อง ทุนการศึกษาจากภาครัฐบาลญี่ปุ่น ประสบการณ์จากรุ่นพี่ อีกทั้งชมการประกวดสุนทรพจน์ ชิงรางวัลตั๋วเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพ-ญี่ปุ่น

 สำหรับปีพ.ศ.2554 JASSO  จะจัดให้มีงานนิทรรศการ 2 แห่งตามวันและเวลาข้างล่างนี้ คือ

  1. ในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2554  ระหว่างเวลา 10.00-17.00 น. ณ ห้องอิมพีเรียลแกรนด์ฮอล ชั้น 2 โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง รายชื่อสถาบัน 35 แห่ง  ที่เข้าร่วมงานที่จังหวัดเชียงใหม่  มีดังนี้คือ   http://www.jeic-bangkok.org/files/ext/ Exhibitor%20list%20(chiangmai)%202011.pdf                                                                                                                                                                                                    
  2. ในวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2554 ระหว่างเวลา 10.00-17.00 น. ณ ห้องราชเทวีแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเอเซีย (ราชเทวี) รายชื่อสถาบัน 52 แห่ง ที่เข้าร่มงานประกอบด้วย                                                                                                                              http://www.jeic-bangkok.org/files/ext/Exhibitor%20list%20(bkk)%202011.pdf

Copyright © 2010-2011 GoVisa All rights reserved.